วันเสาร์ที่ 22 เมษายน 2560
เริ่มต้นวันแห่งการเรียนรู้
บันทึกการเรียนรู้ประจำวัน
กิจกรรมแผน PBL
แผน PBL
Quarter1/2560
หน่วย: you are what you eat ?
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
หน่วย You are what you eat?
คำถามหลัก : การเลือกรับประทานอาหารส่งผลต่อสุขภาพร่างกายอย่างไร
ภูมิหลังของปัญหา : จากสภาพการเป็นอยู่ในปัจจุบัน ทำให้พฤติกรรมการบริโภค ของคนส่วนใหญ่เปลี่ยนไป นิยมอาหารประเภทที่เข้าถึงตัวผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว หาซื้อง่าย ถูกปากคนรุ่นใหม่ บรรจุภัณฑ์สวยงามและพกพาไปด้วยได้ทุกที่ เช่นอาหารประเภท อาหารสำเร็จรูป อาหารจานด่วน ขนมขบเคี้ยว ฯลฯ ซึ่งไม่มีอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเลย อาหารเหล่านี้จัดเป็นอาหารขยะ ทำให้สัดส่วนเด็กไทยมีแนวโน้มสู่สภาวะเด็กอ้วน ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาและพฤติกรรมการบริโภคของเด็กส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียน สติปัญญา ดังนั้นจึงจำเป็นที่พี่ ป.4 ควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับคุณค่าของการเลือกรับประทานอาหารที่ส่งผลต่อร่างกายและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสม
เป้าหมายของความเข้าใจ : นักเรียนเข้าใจและเห็นคุณค่าของการรับประทานอาหารที่ส่งผลต่อร่างกายและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสม
เวลาเรียน 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
Maind map
WEB เชื่อมโยงบรูณาการ 8 กลุ่มสาระ
ปฏิทินการเรียนรู้บูรณาการ (Problem Based Learning) PBL หน่วย: “you are what you eat”
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 (Quarter 1) ปีการศึกษา 2559
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและเห็นคุณค่าของการรับประทานอาหารที่ส่งผลต่อร่างกายและความสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสม
| ||||
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
1
|
โจทย์ : เรื่องที่อยากเรียนรู้
Key Question :
นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร/เพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้เรื่องนั้น
เครื่องมือคิด
- Round Robin
- Think Pair Share
- Blackboard Share
- Show and Share
- Wall Thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- เรื่องเล่าในช่วงปิดเรียนจากครูและนักเรียน
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- หนังสือ/ห้องสมุด
|
- ครูและนักเรียนทักทายกัน โดยสร้างปฏิสัมพันธ์ในแนวราบ
- ครูสร้างแรงบันดาลใจด้วยการให้ดูคลิป VDO สัตว์โลกอ้วนกลม: นักเรียนเห็นอะไรบ้าง/เพราะอะไรจึงเป็นอย่างนั้น/แล้วถ้าเป็นตัวเราจะทำอย่างไร?
- นักเรียนทำแบบทดสอบร่างกายของตัวเอง โดยการชั่งน้ำหนักตัว วัดส่วนสูง วัดรอบเอว เปรียบเทียบมาตรฐานน้ำหนักกับส่วนสูง:ร่างกายของเราเป็นอย่างไร/นักเรียนคิดเห็นอย่างไรกับร่างกายของตนเองในขณะนี้(ประเมินสภาพร่างกายด้วยตนเอง) - ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : รอบเอวและน้ำหนักตัวที่มากมีผลอย่างไรกับตัวเรา/นักเรียนจะทำอย่างไรต่อไป - ครูกระตุ้นด้วยคำถาม:จากปัญหาที่นักเรียนประสบอยู่นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรเพื่อทำความเข้าใจแล้วนำมาแก้ไขปัญหาให้กับตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม - ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านมาในสัปดาห์นี้ร่วมกัน : นักเรียนได้เรียนรู้อะไรมาบ้างในสัปดาห์นี้- เขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1 |
ภาระงาน
- แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับคลิปวีดีโอที่ได้ดู
- ช่วยกันเพื่อตั้งชื่อหน่วยที่เป็นปัญหาและน่าเรียนรู้
ชิ้นงาน
- สรุปสิ่งที่ได้ดูจากคลิป
- แบบทดสอบร่างกาย- ภาพตกแต่งหน้าห้องเรียน- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่1
|
ความรู้
เข้า ใจความต้องการของตนเองสามารถพูดอธิบาย
พร้อมกับตั้งคำถามและแสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจและเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้
ทักษะ :ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสาร ทักษะการจัดการข้อมูล ทักษะการอยู่ร่วมกัน คุณลักษณะ- รู้จักตนเอง - เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น - เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย |
เป้าหมายรายสัปดาห์ :เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้ และสามารถวางแผนการเรียนรู้ของตนเองร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีขั้นตอน และสร้างสรรค์
| ||||
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
2
|
โจทย์ : ออกแบบ/วางแผนการเรียนรู้
Key Questions :
- นักเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับหน่วย “You are what you eat”
- นักเรียนอยากเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับหน่วย “You are what you eat” - นักเรียนจะออกแบบ/วางแผน การเรียนรู้ตลอด 10สัปดาห์อย่างไรให้น่าสนใจ
เครื่องมือคิด
- Blackboard Share
- Mind Mapping - Show and Share - Wall Thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- หนังสือ/ห้องสมุด
|
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม :นักเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับหน่วย “You are what you eat” - ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่รู้แล้วเกี่ยวกับหน่วย “You are what you eat” : นักเรียนจะสรุปสิ่งที่รู้แล้วทั้งหมดของตนเองอย่างไร - นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนเป็นรายบุคคลผ่านเครื่องมือคิด (Mind Mapping) - ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : นักเรียนอยากเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับหน่วย “You are what you eat” - ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : นักเรียนจะออกแบบและวางแผนกิจกรรมจากสิ่งที่อยากเรียนรู้อย่างไร - ครูและนักเรียนออกแบบและวางแผนทำปฏิทินการเรียนรู้10 สัปดาห์ร่วมกัน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2
|
ภาระงาน
- แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- ช่วยกันเพื่อออกแบบและวางแผนทำปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์ร่วมกัน
- การทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์
ชิ้นงาน
- สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน- ทำปฏิทินการเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่2
|
ความรู้
เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้ และสามารถวางแผนการเรียนรู้ของตนเองร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีขั้นตอน และสร้างสรรค์
ทักษะ :ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร ทักษะการจัดการข้อมูล ทักษะการอยู่ร่วมกัน คุณลักษณะ- รู้จักตนเอง - เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น - เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย |
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจการดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ พืช สัตว์ และสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของระบบต่างๆที่ทำงานร่วมกันได้
| ||||
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
3
|
โจทย์ : การกำเนิด
Key Questions :
- นักเรียนเกิดขึ้นมาได้อย่างไร?
- ทำไมต้องมีการเกิด / สิ่งอื่นดำรงเผ่าพันธุ์หรือขยายพันธุ์อย่างไร?
- มนุษย์ พืช และสัตว์ แตกต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใด?
เครื่องมือคิด
- Show and Share
- Wall Thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- หนังสือ/ห้องสมุด
- Internet
|
- ครูเปิดคลิป VDO การกำเนิดมนุษย์: นักเรียนเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
- นักเรียนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับการกำเนิดของตนเองในรูปแบบของ Flowchart เป็นรายบุคคล- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : ทำไมต้องมีการเกิด / สิ่งอื่นดำรงเผ่าพันธุ์หรือขยายพันธุ์อย่างไร/มนุษย์ พืช และสัตว์ แตกต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใด - นักเรียนสรุปการดำรงเผ่าพันธุ์ของพืชและสัตว์ลงในตาราง- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม:สิ่งต่างๆรวมทั้งตัวเราเติบโตขึ้นได้อย่างไร? - ครูกระตุ้นด้วยคำถามต่อ : ปัจจัยที่ส่งผลให้เราเติบโตมีอะไรบ้าง แล้วสิ่งเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกายของเราได้อย่างไร - ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต (ระบบหายใจ,ระบบย่อย,ระบบขับถ่ายและระบบต่อมต่างๆ) - นักเรียนหาข้อมูลเพิ่มเติมเป็นกลุ่มตามระบบทั้ง 4 กลุ่มละ 5-6 คน - ครูพานักเรียนทำการทดลองสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร เพื่อให้ทราบว่าส่วนประกอบของอาหารที่อภิโภคในแต่ละวันมีปนเปื้อนอยู่ด้วย
- นักเรียนหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีแยกสารปนเปื้อนในอาหาร
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 3
|
ภาระงาน
- การดูคลิป VDO การกำเนิดมนุษย์
- การวิเคราะห์ปัจจัยในการเจริญเติบโตของคน,พืช,และสัตว์
- การศึกษาและวิเคราะห์ระบบหายใจ,ระบบย่อย,ระบบขับถ่ายและระบบต่อมต่างๆ
- ทำการทดลองสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร
ชิ้นงาน
- สรุปโครงสร้างทั้ง 4ระบบ ของมนุษย์ พืชและสัตว์
- สรุปผลการทดลองสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่3
|
ความรู้
เข้าใจการดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ พืช สัตว์ และสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของระบบต่างๆที่ทำงานร่วมกันได้
ทักษะ :ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสาร ทักษะการจัดการข้อมูล ทักษะการอยู่ร่วมกัน คุณลักษณะ- รู้จักตนเอง - เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น - เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย |
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจการดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ พืช สัตว์ และสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของระบบต่างๆที่ทำงานร่วมกันได้
| ||||
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
4
|
โจทย์ : โครงสร้างของร่างกายมนุษย์
Key Questions :
- มนุษย์ต้องการน้ำและอาหารไปเพื่ออะไร?
- ระบบต่างๆในร่างกายมีความสัมพันธ์กันอย่างไร?
เครื่องมือคิด
- Round Robin
- Blackboard Share
- Show and Share - Wall Thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- หนังสือ/ห้องสมุด
- Internet
|
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่แล้วร่วมกันและกระตุ้นด้วยคำถามต่อ :ถ้าสารเคมีปนเปื้อนในอาหารเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ จะเกิดอะไรขึ้น
- ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเมื่อสารเคมีเข้าสู่ร่างกายและ แล้วครูเชิญนักเรียนที่นำเสนอมาช่วยเขียนบนกระดาน - นักเรียนจับสลากหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบต่างๆที่ถูกทำลายจากสารเคมีปนเปื้อนแต่ละชนิดเช่น ระบบกล้ามเนื้อ,ระบบโครงกระดูก,ระบบประสาท,ระบบไหลเวียนเลือดและระบบต่อมไรท่อต่างๆ - ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : ระบบต่างๆในร่างกายมีความสัมพันธ์กันอย่างไร - นักเรียนสรุปความสัมพันธ์ของระบบต่างๆในร่างกาย
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4
|
ภาระงาน
- แลกเปลี่ยนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเมื่อสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย
- นำเสนอชาร์ตความรู้เกี่ยวกับระบบต่างๆ
ชิ้นงาน
- ชาร์ตความรู้เกี่ยวกับระบบต่างๆ
- สรุปความสัมพันธ์ของระบบต่างๆในร่างกาย - สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่4 |
ความรู้
เข้าใจการดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ พืช สัตว์ และสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของระบบต่างๆที่ทำงานร่วมกันได้
ทักษะ :ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสาร ทักษะการจัดการข้อมูล ทักษะการอยู่ร่วมกัน คุณลักษณะ- รู้จักตนเอง - เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น - เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย |
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจผลร้ายของโรคอ้วนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และสามารถดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคอ้วนได้
| ||||
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
5
|
โจทย์ : ร่างกายบอกอะไร
Key Questions :
- ทำไมคนจึงป่วย?
- โรคอ้วนเกิดขึ้นได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด
- Round Robin
- Place Mat
- Show and Share
- Wall Thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- คลิป VDO “เราอาจจะตายเพราะกิน”
- บรรยากาศในชั้นเรียน |
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : ทำไมคนจึงป่วย
- นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
- ครูให้นักเรียนดูคลิป VDO “เราอาจจะตายเพราะกิน”:นักเรียนเห็นอะไรบ้าง/รู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ดู/แล้วนักเรียนจะทำอย่างไร
- นักเรียนแบ่งกลุ่มวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากคลิป VDOผ่านเครื่องมือคิด (Place Mat)
- ครูเปิดภาพรวมพลคนอ้วนแล้วใช้คำถามกระตุ้นการคิด:โรคอ้วนเกิดขึ้นได้อย่างไร
- นักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- นักเรียนแบ่งกลุ่มศึกษาโรคต่างๆที่เป็นผลพวงจากการเกิดโรคอ้วน
- นักเรียนนำเสนอชาร์ตโรคต่างๆที่เป็นผลพวงมาจากโรคอ้วน และหาวิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน - สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5 |
ภาระงาน
- ดูคลิป VDO “เราอาจจะตายเพราะกิน”
- การอภิปรายร่วมกัน
- การวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากคลิป VDO
- การศึกษาโรคต่างๆที่เป็นผลพวงจากการเกิดโรคอ้วน
- การแสดงบทบาทสมมุติเกี่ยวกับผลพวงของโรคอ้วน
ชิ้นงาน
- Place Matวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากคลิปVDO
- ชาร์ตโรคต่างๆที่เป็นผลพวงจากการเกิดโรคอ้วน
- บทบาทสมมุติเกี่ยวกับผลพวงของโรคอ้วน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่5
|
ความรู้
เข้าใจผลร้ายของโรคอ้วนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสามารถดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคอ้วนได้
ทักษะ :ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร ทักษะการจัดการข้อมูล ทักษะการอยู่ร่วมกัน คุณลักษณะ- รู้จักตนเอง - เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น - เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย |
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายอาหารหลัก 5 หมู่ตลอดจนสามารถเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้
| ||||
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
6
|
โจทย์ : อาหารสุขภาพClean food
Key Questions :
- ทำไมต้องกินอาหาร?
- อาหารมีประโยชน์ต่อตัวเราอย่างไร?
เครื่องมือคิด
- Round Robin
- Blackboard Share
- Show and Share
- Wall Thinking
- Gard and Chart
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- หนังสือ/ห้องสมุด
- ห้องครัวประถม
|
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : ทำไมต้องกินอาหาร?/อาหารมีประโยชน์ต่อตัวเราอย่างไร
- นักเรียนแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันผ่านเครื่องมือคิด (Round Robin)
- นักเรียนแบ่งเป็นห้ากลุ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารต่างๆตามที่จับสลากได้(อาหาร 5 หมู่)
- นักเรียนสรุปอาหารหลัก 5 หมู่ในรูปแบบของ
ชิ้นงานที่หลากหลายตามความถนัดของตนเองเช่นFlowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง
- ครูพานักเรียนทำการทดสอบสารอาหารอย่างง่าย - ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเพื่อสรุปผลการทดสอบสารอาหาร - ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : นักเรียนจะประกอบอาหารที่มีคุณค่าให้กับตัวเองอย่างไร - ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการประกอบอาหารที่มีคุณค่าให้กับตัวเอง - ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่มๆละ 5 คน เพื่อออกแบบและวางแผนการประกอบอาหาร จาก Gard and Chart โดยคำนึงถึงคุณค่าทางสารอาหารที่ครบ 5 หมู่ตามที่ร่างกายต้องการ - นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 6 |
ภาระงาน
- แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับทำไมต้องกินอาหาร?/อาหารมีประโยชน์ต่อตัวเราอย่างไร
- การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารหลัก 5 หมู่
- การทดสอบสารอาหารอย่าง่าย
- การประกอบอาหารสุขภาพ
ชิ้นงาน
- สรุปอาหารหลัก 5 หมู่
- สรุปผลการทดลอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายอาหารหลัก 5หมู่ตลอดจนสามารถเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้
ทักษะ :ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร ทักษะการจัดการข้อมูล ทักษะการอยู่ร่วมกัน คุณลักษณะ- รู้จักตนเอง - เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น - เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย |
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถออกและวางแผนการดูแลสุขภาวะของตนเองพร้อมนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
| ||||
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
7
|
โจทย์ : สุขภาวะที่ดี
Key Question :
ทำอย่างไรนักเรียนจึงจะมีสุขภาวะที่ดี?
เครื่องมือคิด
- Think Pair Share
- Mind Mapping
- Blackboard Share
- Show and Share
- Wall Thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
บรรยากาศในชั้นเรียน
|
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : ทำอย่างไรนักเรียนจึงจะมีสุขภาวะที่ดี
- ครูแจกกระดาษให้นักเรียนเขียนวิธีที่จะทำให้ตนเองมีสุขภาวะที่ดีผ่านเครื่องมือคิด (Think Pair Share) - นักเรียนช่วยกันจัดหมวดหมู่ของวิธีการที่จะทำให้ตนเองมีสุขภาวะที่ดีเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน - ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : นักเรียนจะออกแบบ และวางแผนการดูแลสุขภาวะของเราอย่างไร - นักเรียนแลกเปลี่ยนวิธีการออกแบบและวางแผนการดูแลสุขภาวะร่วมกันผ่านเครื่องมือคิด (Blackboard Share)
- นักเรียนออกแบบวางแผนการดูแลสุขภาวะของตนเองให้ได้ตามมาตรฐานที่เหมาะสมกับช่วงวัย (การกิน,การออกกำลังกาย,การพักผ่อนฯลฯ)
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนจะดูแลร่างกายอย่างไรให้สะอาด?”
- นักเรียนศึกษาการอาบน้ำ, แปรงฟัน, และการทำความสะอาดร่างกายที่ถูกต้องตามหลักอนามัย
- นักเรียนซ้อมการแสดงเพื่อถ่ายทอดการดูแลร่างกายที่ถูกต้อง
- นักเรียนถ่ายทอดการดูแลร่างกายที่ถูกต้องผ่านบทบาทสมมุติ
- นักเรียนแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการแสดงบทบาทสมมุติและเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาต่อยอดกันและกัน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 7
|
ภาระงาน
- ช่วยกันจัดหมวดหมู่ของวิธีการที่จะทำให้ตนเองมีสุขภาวะที่ดี
- ออกแบบวางแผนการดูแลร่างกายให้ได้ตามมาตรฐานที่เหมาะสมกับช่วงวัย
- ถ่ายทอดการดูแลร่างกายที่ถูกต้องผ่านบทบาทสมมุติ
ชิ้นงาน
- Mind Mapping สรุปวิธีการดูแลสุขภาวะของตนเอง
- แผนการดูแลสุขภาวะของตนเอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่7 |
ความรู้
นักเรียนสามารถออกและวางแผนการดูแลสุขภาวะของตนเองพร้อมนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ :ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสาร ทักษะการจัดการข้อมูล ทักษะการอยู่ร่วมกัน คุณลักษณะ- รู้จักตนเอง - เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น - เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย |
เป้าหมายรายสัปดาห์ : รู้เท่าทันสื่อโฆษณา และสามารถเลือกรับประทานอาหารที่ปลอดภัยต่อตัวเองได้
| ||||
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
8
|
โจทย์ : อาหาร 4 ภาค
Key Questions :
- จากภาพคิดว่าเป็นอาหารอะไร
- คิดว่าเป็นอาหารของภาคใด? - อาหารแต่ละภาคมีความแตกต่างกันอย่างไร? เครื่องมือคิด - Card and Chart
- Show and Share
- Jigsaw
- Wall Thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
บรรยากาศในชั้นเรียน
|
- นักเรียนดูภาพ ”อาหารแต่ละภาค”
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : จากภาพคิดว่าเป็นอาหารอะไร/คิดว่าเป็นของภาคใด/อาหารแต่ละภาคมีความแตกต่างกันอย่างไร
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 4 กลุ่ม แจกบัตรภาพอาหารให้นักเรียนแล้วให้นำไปติดตามภาคในแผนที่ประเทศไทย
- นักเรียนแต่ละกลุ่มหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหาร 4 ภาค โดยใช้เครื่องมือคิด Jigsaw
- นักเรียนนำเสนอ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 8
|
ภาระงาน
- เขียนแสดงความคิดของตนเองเกี่ยวกับภาพอาหาร
- ติดภาพอาหารในแผนที่ประเทศไทย
- แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับอาหาร 4 ภาค
ชิ้นงาน
- สรุปอาหาร 4 ภาค
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่8
|
ความรู้
รู้เท่าทันสื่อโฆษณา และสามารถเลือกรับประทานอาหารที่ปลอดภัยต่อตัวเองได้
ทักษะ :ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสาร ทักษะการจัดการข้อมูล ทักษะการอยู่ร่วมกัน คุณลักษณะ- รู้จักตนเอง - เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น - เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย |
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถออกแบบวางแผนการถ่ายทอด องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ เป็นแรงบันดาลใจ สะท้อนแง่มุมที่หลากหลาย นำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
| ||||
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
9
|
โจทย์ :
สรุปองค์ความรู้หลังเรียน คำถาม - นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างใน Quarter นี้? - นักเรียนจะเผยแพร่องค์ความรู้ หน่วยการเรียนรู้Quarter นี้ ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้อย่างไร - นักเรียนทำ สิ่งใดได้ดี และต้องพัฒนาบ้างเพราะเหตุใด เครื่องมือคิด - Round Robin - Show and Share - Mind Mapping - Wall Thinking ชิ้นงาน สื่อ / แหล่งเรียนรู้ บรรยากาศนานห้องเรียน |
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : สิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอด Quarter ที่ผ่านมามีอะไรบ้าง
- นักเรียนสรุปองค์ความรู้หลังเรียนเป็นรายบุคคล - ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : ตลอด Quarter ที่ผ่านมาสิ่งไหนบ้างที่นักเรียนทำได้สำเร็จ และสิ่งไหนบ้างที่ควรพัฒนาเพิ่มเติมต่อยอดต่อไป - นักเรียนประเมินตนเองเป็นรายบุคคลในรูปแบบของMind Mapping - ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : นักเรียนจะเผยแพร่องค์ความรู้ หน่วยการเรียนรู้Quarter นี้ ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้อย่างไร - ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อเตรียมความพร้อม ในการสรุปนำเสนอเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบของนิทรรศการ - สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 9 |
ภาระงาน
- เขียนสิ่งที่ดีแล้วสิ่งที่ควรพัฒนา - เขียนตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียน
ชิ้นงาน
- Mind Mapping การ์ตูนช่องหรือบรรยาย สรุปองค์ความรู้หลังเรียน - สรุปสิ่งที่ทำดีแล้ว และสิ่งที่ควรพัฒนาเพิ่มเติม - สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ 9 |
ความรู้ :
นักเรียนเข้าใจและสามารถออกแบบวางแผนการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ เป็นแรงบันดาลใจ สะท้อนแง่มุมที่หลากหลาย นำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ :ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร ทักษะการจัดการข้อมูล ทักษะการอยู่ร่วมกัน คุณลักษณะ- รู้จักตนเอง - เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น - เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย |
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ เป็นแรงบันดาลใจ สะท้อนแง่มุมที่หลากหลาย นำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
| ||||
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
10-11
|
โจทย์ :
สรุปองค์ความรู้หลังเรียน คำถาม - นักเรียนจะเผยแพร่องค์ความรู้ หน่วยการเรียนรู้Quarter นี้ ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้อย่างไร - นักเรียนจะจัดและตกแต่งบรรยากาศห้องเรียนอย่างไร เครื่องมือคิด - Show and Share ชิ้นงาน - Wall Thinking ชิ้นงาน สื่อ / แหล่งเรียนรู้ บรรยากาศนานห้องเรียน |
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : นักเรียนจะจัดและตกแต่งบรรยากาศห้องเรียนอย่างไร/นักเรียนจะเผยแพร่องค์ความรู้ หน่วยการเรียนรู้Quarter นี้ ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้อย่างไร
- ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการจัดเตรียมสถานที่- จัดบรรยากาศห้องเรียน เพื่อเตรียมเปิดห้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ - เผยแพร่องค์ความรู้ ในรูปแบบของนิทรรศการ - ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : นักเรียนจะเผยแพร่องค์ความรู้ หน่วยการเรียนรู้Quarter นี้ ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้อย่างไร - ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการเผยแพร่องค์ความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจ - นักเรียนเผยแพร่องค์ความรู้ หน่วยการเรียนรู้Quarter นี้ ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ - ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านมาในสัปดาห์นี้ร่วมกัน : นักเรียนได้เรียนรู้อะไรมาบ้างในสัปดาห์นี้ - ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนสิ่งที่รู้แล้วเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านมาตลอดทั้งสัปดาห์ - สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 10 |
ภาระงาน
- นำเสนอความเข้าใจหลังเรียน - จัดนิทรรศการสรุปและเผยแพร่องค์ความรู้
ชิ้นงาน
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ 10 |
ความรู้ :
นักเรียนเข้าใจและสามารถสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ เป็นแรงบันดาลใจ สะท้อนแง่มุมที่หลากหลาย นำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ :ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร ทักษะการจัดการข้อมูล ทักษะการอยู่ร่วมกัน คุณลักษณะ- รู้จักตนเอง - เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น - เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย |
วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน 2560
บันทึกการเรียนรู้ประจำวัน
ช่วงเช้ากิจกรรมโยคะครูจะเล่าเรื่องเชื่อมโยงเข้าสู่ท่าโยคะต่างๆ โดยจะช่วยบริหารกล้ามเนื้อส่วนต่างๆให้แข็งแรงขึ้น ได้ผ่อนคลาย ได้เคลื่อนไหวร่างกาย รวมทั้งยังเป็นการฝึกสมาธิที่ดีอีกด้วย ต่อด้วยเรียนรู้การทำBody Scan รูปแบบต่างๆ ทั้งแบบยืน แบบนั่งและแบบนอน จากนั้นตามด้วยจิตศึกษา “ถ่ายทอดเรื่องราววัยเด็ก” “ประสบการณ์ชีวิต” “เรื่องที่ภูมิใจ” จากกิจกรรมนี้จะทำให้เด็กได้รู้จักการฟัง รู้จักการรอคอย เปิดใจ ไว้วางใจ ได้เห็นแง่มุมของผู้อื่น/เรื่องราวมุมมองของผู้อื่น
ต่อด้วยดู VDO ทำให้เห็นว่าการทำลายคุณค่าของคนมีผลร้ายแรงเพียงใด ได้เรียนรู้ว่าชีวิตทุกคนมีคุณค่าและไม่ควรทำลายคุณค่าใคร ซึ่งบางครั้งเราอาจนึกไม่ถึงว่าการกระทำบางอย่างของเราเป็นการทำลายคุณค่าขอผู้อื่น เช่น การแข่งขัน การเปรียบเทียบ คำพูด/น้ำเสียง การใช้ความรุนแรง การบังคับ ได้เรียนรู้ว่าปัจจัยต่างๆเงินทอง อำนาจหน้าที่ การศึกษา ฯลฯไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆไม่ได้ครึ่งเศษเสี้ยวหนึ่งของจักรวาลด้วยซ้ำ ถึงไม่มีเราก็สิ่งตางๆก็ยังคงเกิดขึ้น ยังคงดำเนินตามวิถีของเหล่านั้นต่อไป ตัวเราเล็กนิดเดียว ไม่ควรเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางของโลก
ในช่วงบ่ายได้ทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาปัญญาภายในโดยจิตศึกษา มีแผนตัวอย่างให้ศึกษา เรียนรู้วิธีการเขียนแผนจิตศึกษาและทดลองเขียนแผนด้วยตัวเอง กิจกรรมนี้ทำให้เด็กได้ใคร่ครวญ ได้อยู่กับตัวเอง ได้ฝึกสมาธิ กำกับสติ ในแผนก็มีหัวข้อหลักคือเป้าหมาย กิจกรรม และสื่ออุปกรณ์ ในส่วนของเป้าหมายจะบอกให้รู้ว่าในขั้นกิจกรรมแต่ละขั้นมีเป้าหมายอะไร เด็กได้อะไร ในส่วนกิจกรรมจะประกอบด้วย ขั้นเตรียม/ขั้นกิจกรรม/ขั้นจบ ขั้นเตรียม จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้สมองเด็กพร้อมที่จะเรียนรู้ ให้เด็กได้กลับมาใคร่ครวญกับตัวเอง กำกับสติด้วย Brain gym ใช้เวลาประมาณ 5 นาที ขั้นกิจกรรมจะใช้เวลา 15 นาที เป็นกิจกรรมที่ฝึกเด็กให้มีสติใคร่ครวญตนเอง เคารพนอบน้อมต่อตนเองและทุกสรรพสิ่ง คิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆกับตนเอง ในส่วนของขั้นจบ ครูจะให้ Empower ให้คำพูดเสริมแรง และไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน จากนั้นทำแผนPBL (ต่อ)
แผนจิตศึกษา
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาปัญญาภายในโดย “จิตศึกษา”
เป้าหมาย
|
กิจกรรม
|
สื่อ/อุปกรณ์
|
ขั้นเตรียม
กำกับสติ/สมาธิ
|
กิจกรรม : เสียงสื่อใจ
ขั้นเตรียม (5 นาที)
- ครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลม ไหว้ทักทายซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
- นักเรียนค่อยๆปิดเปลือกตาลงเบาๆ รับรู้ลมหายใจของตัวเองสัก 2-3 ครั้ง
- นักเรียนกำกับสติด้วย Brain Gym นับเป็ด (นับเป็ดเรียงต่อคำกันพร้อมทำท่ามือ เป็ด หนึ่งตัว ร้อง ก้าบ เป็ด สองตัว ร้อง ก้าบ ก้าบ นับเลขเรียงไปจนถึงคนสุดท้าย ระหว่างนี้หากมีคนทำผิดให้เริ่มนับเป็ดตัวที่หนึ่งใหม่)
|
-ตะกร้าอุปกรณ์ (กระดาษ A4 และดินสอ)
- คลิปเสียงธรรมชาติ
- คลิปเสียงพายุ
|
ขั้นกิจกรรม
- ฝึกการมีสติ ใคร่ครวญตัวเอง
เคารพนอบน้อมต่อตนเองและสรรพสิ่ง
- เห็นความสัมพันธ์เชื่องโยงกับสิ่งต่างๆกับตนเอง
- สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้
|
ขั้นกิจกรรม (15 นาที)
- ครูส่งตะกร้าอุปกรณ์ นักเรียนหยิบคนละ 1 ชุด (กระดาษ A4 1 แผ่น ดินสอ 1 ด้าม) โดยส่งทางด้านใดด้านหนึ่งจนครบทุกคน คนสุดท้ายจะวางตะกร้าอุปกรณ์ไว้ด้านหลังของตนเอง ก่อนจะรับ-ส่งอุปกรณ์ ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม เมื่อได้รับอุปกรณ์และทุกคนจะวางไว้ด้านหน้าของตนเอง
- นักเรียนหลับตาฟังคลิปเสียงที่ครูเปิด (เสียงธรรมชาติยามเช้าในป่าเบาๆ) เมื่อฟังจบให้นักเรียนลืมตาขึ้น
- นักเรียนวาดภาพสิ่งที่ได้ยิน (กะระยะเวลาสักครู่)
- นักเรียนหลับตาฟังคลิปเสียงอีกเสียงหนึ่ง (เสียงพายุ ฝนตก ฟ้าร้อง) เมื่อฟังจบให้นักเรียนลืมตาขึ้น
-นักเรียนวาดภาพตามความรู้สึกที่ได้ยินเสียง
- นักเรียนตั้งชื่อภาพวาดของตัวเอง ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด “ภาพที่วาดสื่อถึงอะไร” “สัมพันธ์เชื่อมโยงกับชีวิตนักเรียนอย่างไร”
- นักเรียนเขียนเพื่อสื่อความคิดมุมมองของตนเอง
- นักเรียนนำเสนอผลงาน
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “เสียงมีความสำคัญกับชีวิตเราอย่างไร” “เสียงต่างๆให้ความรู้สึกอย่างไร” “จะเกิดอะไรขึ้น หากโลกนี้ไม่มีเสียง”
- นักเรียนเก็บผลงานและอุปกรณ์ใส่ตะกร้า โดยเริ่มจากคนที่มีตะกร้าอยู่ด้านหลัง และส่งต่อให้เพื่อนทีละคนจนมาถึงคุณครู ก่อนจะรับ-ส่ง อุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
| |
ขั้นจบ
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ 5 นาที
- ครูพูดเสริมแรง ชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
- ครูและนักเรียนทุกคนไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน
|
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาปัญญาภายในโดย “จิตศึกษา”
เป้าหมาย
|
กิจกรรม
|
สื่อ/อุปกรณ์
|
ขั้นเตรียม
กำกับสติ/สมาธิ
|
กิจกรรม : ภาพในใจ
ขั้นเตรียม : (5 นาที)
- ครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลม ไหว้ทักทายซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
- นักเรียนค่อยๆปิดเปลือกตาลงเบาๆ รับรู้ลมหายใจของตัวเอง สัก 2-3 ลมหายใจ
- นักเรียนกำกับสติด้วย Brain Gym (นับเลขสลับซ้ายขวา, แตะสลับ มือซ้ายแตะจมูกมือขวาแตะหูซ้าย-มือขาวแตะจมูกมือซ้ายแตะหูขวา )
|
-ตะกร้าอุปกรณ์ (กระดาษ A4 และดินสอ)
|
ขั้นกิจกรรม
- ฝึกการมีสติ ใคร่ครวญตัวเอง
เคารพนอบน้อมต่อตนเองและสรรพสิ่ง
- เห็นความสัมพันธ์เชื่องโยงกับสิ่งต่างๆกับตนเอง
- สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้
|
ขั้นกิจกรรม : (15 นาที)
- ครูส่งตะกร้าอุปกรณ์ นักเรียนหยิบคนละ 1 ชุด (กระดาษ A4 1 แผ่น ปากกา 1 ด้าม) โดยส่งทางด้านใดด้านหนึ่งจนครบทุกคน คนสุดท้ายจะวางตะกร้าอุปกรณ์ไว้ด้านหลังตนเอง ก่อนรับ-ส่งอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม เมื่อได้รับอุปกรณ์แล้วทุกคนจะวางไว้ด้านหน้าของตนเอง โดยครูจะมีสีวางไว้ตรงกลางวงให้
- นักเรียนแบ่งกระดาษเป็นสามส่วน
ส่วนที่ 1 เขียนตัวเลขที่นักเรียนชอบ 1 เลข
ส่วนที่ 2 วาดรูปสัตว์ที่ชอบ 1 ตัว
ส่วนที่ 3 วาดสิ่งของ 1 ชิ้น
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ตัวเลขที่เขียนมีความสัมพันธ์กับชีวิตนักเรียนอย่างไร” “ทำไมถึงวาดสัตว์ตัวนี้” “มีสิ่งอื่นที่สามารถทดแทนหรือทำหน้าที่เหมือนกันสิ่งของนั้นได้”
- นักเรียนนำเสนอผลงาน
- นักเรียนเก็บผลงานและอุปกรณ์ใส่ตะกร้า โดยเริ่มจากคนที่มีตะกร้าอยู่ด้านหลัง และส่งต่อให้เพื่อนทีละคนจนมาถึงคุณครู ก่อนจะรับ-ส่ง อุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
| |
ขั้นจบ
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ 5 นาที
- ครูพูดเสริมแรง ชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
- ครูและนักเรียนทุกคนไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน
|
ปฏิทินการเรียนรู้บูรณาการ (Problem Based Learning) PBL หน่วย: “อาหารเพื่อสุขภาพ”
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 (Quarter 2) ปีการศึกษา 2560
Week
|
Input
|
Possess
|
Output
|
Outcome
|
1
|
โจทย์ : ออกแบบการเรียนรู้
Key Questions :
- เรื่องที่อยากเรียนรู้
- วางแผนการเรียนรู้
เครื่องมือคิด :
- Think pair share เลือกชื่อหน่วย
- Black board share ตั้งชื่อหน่วย
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- บรรยากาศชั้นเรียน
- สื่อ VDO
|
- ดู VDO “น้องบอยไม่กินผัก” ซึ่งเกี่ยวกับการกินอาหารของเด็ก
- ครูตั่งคำถามกับนักเรียนว่าได้อะไรเกี่ยวกับการดู VDO นี้
- นักเรียนเห็นอะไร
- สาเหตุที่เป็นแบบนั้นคืออะไร
- นักเรียนคิดว่าจะมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร
|
ภาระงาน :
- การแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกันเกี่ยวกับ VDO ที่ได้ดู
- ร่วมกันตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ที่เป็นปัญหาให้น่าสนใจ
- สรุป Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้
ชิ้นงาน :
- ชื่อหน่วยการเรียนรู้
- Mind Mapping (ก่อนเรียน)
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
สามารถเข้าใจและวิเคราะห์ได้ตรงตามเป้าหมาย
อธิบายกระบวนการเรียนรู้ ได้อย่างเหมาะสมและน่าสนใจ
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คุณลักษณะ:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย
|
2
|
โจทย์ : ออกแบบการเรียนรู้
- สิ่งที่อยากรู้/สิ่งที่รู้แล้ว
- วางแผนการเรียนรู้
Key Questions :
- นักเรียนรู้อะไรบ้างและอยากรู้เรื่องอะไรบ้างในหน่วยที่ตนเองสนใจ ?
- “ถ้านักเรียนอยากทำอาหารเพื่อสุขภาพ นักเรียนอยากทำเมนูอะไร ?
เครื่องมือคิด
- Brainstorm
- Show and Share
- Mind Mapping
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- เมล็ดข้าวเปลือก
- บรรยากาศในชั้นเรียน
|
- เขียนสิ่งที่ตนเองรู้และอยากรู้ และช่วยกันเขียนสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้
- นักเรียนเขียน Mind Mapping ก่อนเรียน
- นักเรียนเขียนความเหมือนและแตกต่างของอาหารในแต่ละมื้อ
- นักเรียนจับคู่ค้นหาข้อมูลเกี่ยวอาหารและวิธีการทำเพื่อ ออกแบบการนำเสนอ
- นักเรียนนำเสนอสิ่งที่ได้ค้นหามา สนทนาแลกเปลี่ยนความคิด
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ผ่านชิ้นงานตามรูปแบบความสนใจ เช่น ชาร์ตข้อมูล ภาพ Mind mapping ฯลฯ
|
ภาระงาน :
- สนทนาแลกเปลี่ยน วิเคราะห์สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- ค้นหาข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อนำมาปรับใช้ในการทำอาหารเพื่อสุขภาพ
ชิ้นงาน :
- Mind Mapping ก่อนเรียน
- ชาร์ตความรู้การคัดเลือกพันธุ์ข้าวและขั้นตอนการปลูกข้าว
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายขั้นตอนและกระบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่อยู่รอบตัวเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะ :
- ทักษะชีวิต
- ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะการจัดการข้อมูล
- ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คุณลักษณะ: - รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น - กระตือรือร้นในการทำงาน และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ - ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย |
3-4
|
โจทย์ : อาหาร 5 หมู่
- ประเภทของสารอาหาร
- วิธีการตรวจสอบสารอาหาร
- วางแผนการรับประทาน
Key Questions :
- ในแต่ละวันนักเรียนรับประทานอะไรบ้าง อย่างไร?
- นักเรียนจะรับประทานอาหารในปริมาณเท่าไร จึงจะเพียงพอต่อความต้องการในร่างกายเรา?
- นักเรียนจะรู้ได้อย่างไรว่าอาหารแต่ละอย่างมีสารอาหารใดบ้าง?
- นักเรียนจะรู้ได้อย่างไรว่าร่างกายตนเองอ้วนผอม หรือ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
- นักเรียนจะออกแบบตารางการบริโภคและพัฒนาสมรรถภาพด้านต่างๆของตนเองได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Brainstorm
- Show and share
- Placemat
- Web
- Timeline
- BAR, DAR, AAR
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- เมนูอาหาร
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- คลิปวีดีโอ เรื่อง “อาหาร 5 หมู่เพื่อสุขภาพ”
- คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต
|
- ครูให้นักเรียนสังเกตเมนูอาหารมื้อต่างๆ (แซนวิช ข้าวเหนียวหมูปิ้ง ก๋วยเตี๋ยว)
- นักเรียนเขียนอาหารที่รับประทานในมื้อเช้าของวัน ร่วมกันสนทนาได้คุณค่าจากอาหารเช้าอะไรบ้าง
- นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามเกี่ยวกับอาหารมื้อเช้า
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการรับประทานอาหารแต่ละมื้อ สารอาหาร คุณค่าที่ได้รับ)
- นักเรียนออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
ครูเปิดคลิปวีดีโอ เรื่อง “อาหาร 5 หมู่เพื่อสุขภาพ”
- นักเรียนค้นคว้าปริมาณสารอาหารที่ร่างกายต้องการในแต่ละช่วงวัย วัดดัชนีมวลกาย
- สรุปการเรียนเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับอาหารในมื้อเช้า
- สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารที่อยู่ในอาหาร
- นำเสนอข้อมูลที่ได้สืบค้นเกี่ยวกับสารอาหารที่อยู่ในอาหารและวิธีการตรวจสอบสารอาหาร
- สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารที่อยู่ในอาหาร
- ค้นหาและนำเสนอข้อมูลที่ได้สืบค้นเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารในแต่ละช่วยวัย
ชิ้นงาน
- Mind Mapping,ชาร์ตความรู้, การ์ตูนช่อง เกี่ยวกับสารอาหารประเภทต่างๆ
- Timeline เกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารในแต่ละช่วงวัย
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
- เข้าใจและสามารถอธิบายประเภทของสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้
- เข้าใจและสามารถอธิบายการเลือกรับประทานอาหารของคนในแต่ละช่วงวัยได้
- เข้าใจและอธิบายว่าร่างกายของตนเองอยู่ในเกณฑ์ อ้วนหรือผอม อีกทั้งนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
- ทักษะการวางแผน
- ทักษะการเลือกใช้เครื่องมือ
- ทักษะICT
- ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะการเรียนรู้
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอข้อมูลที่สืบค้นในรูปแบบชิ้นงานที่หลากหลาย อาทิเช่น Mind Mapping,ชาร์ตความรู้, การ์ตูนช่อง ฯลฯ
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
5-6
|
โจทย์ : ปริมาณที่พอเหมาะในการทำอาหาร
- อัตตราส่วนของอาหารและปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายควรได้รับ
- หน้าที่ประโยชน์
- การแปรรูป (ประกอบอาหาร)
Key Questions :
- นักเรียนรู้สึกอย่างไร ที่ได้กินอาหารที่ยังไม่ได้ปรุงแต่ง
- นักเรียนมีวิธีการคำนวนแคลอรี่ในอาหารได้อย่างไรบ้าง?
เครื่องมือคิด :
- Show and Share
- Round Rubin
- Brainstorm
- Flow chart
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- อุปกรณ์การแปรรูปอาหาร
- อุปกรณ์ส่วนประกอบของอาหารเพื่อสุขภาพ
- บรรยากาศในชั้นเรียน
|
- รับประทานอาหารก่อนการแปรรูปอาหาร
- ลอง
- ค้นคว้าประเภท ประโยชน์ อาหารที่เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ
- แปรรูปอาหารเพื่อสุขภาพ
|
ภาระงาน
- จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ
- ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
- ร่วมนำเสนออภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเตรียมส่วนประกอบอาหาร
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในรูปแบบ Flow chart
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการแปรรูปอาหาร)
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
- ผลการทดลองตรวจสอบคาร์โบไฮเดรต (สร้างชิ้นงานตามความถนัดของผู้เรียน เช่น Mind Mapping, ชาร์ตความรู้, การ์ตูนช่อง)
- อาหารแปรรูปอาหารเพื่อสุขภาพ
|
ความรู้
- เข้าใจและสามารถออกแบบวางแผนกระบวนการเรียนรู้
ประกอบอาหาร ส่วนประกอบของอาหารเพื่อสุขภาพ
- เข้าใจและสามารถกระบวนการแปรรูปอาหารประเภทแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) อีกทั้งสามารถนำไปปรับใช้ชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะICT
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการเรียนรู้
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากกระบวนการทดลอง
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
7-8
|
โจทย์ :
- วัตถุดิบในการประกกอบอาหารเพื่อสุขภาพมีอะไรบ้าง
- การถนอมอาหารเพื่อสุขภาพที่ทำ ระยะเวลา 1 สัปดาห์
- ปริมาณแคลอรี่ของอาหารเพื่อสุขภาพ
Key Questions :
- ในระยะเวลา 1 สัปดาห์ นักเรียนจะมีวิธีการถนอมอาหารเพื่อสุขภาพนื้ได้อย่างไร?
- นักเรียนคิดว่าอาหารเพื่อสุขภาพมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร?
- นักเรียนคิดว่าโครงสร้างร่างกายต้องกายอาหารเพื่อสุขสภาพอย่างไร ?
เครื่องมือคิด :
- Show and Share
- Round Rubin
- Brainstorm
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- เนื้อสัตว์ประเภทต่างๆ อาทิเช่น เนื้อหมู, เนื้อปลา, เนื้อไก่ ฯลฯ
- คอมพิวเตอร์ / อินเตอร์เน็ต
- อุปกรณ์สำหรับตรวจสอบโปรตีน
- สัตว์ประเภทต่างๆ อาทิเช่น ปลา,กบ ฯลฯ
- คอมพิวเตอร์ / อินเตอร์เน็ต
- อุปกรณ์ผ่าตัดปลา
- กล้องจุลทรรศน์
|
- นักเรียนวิธีการถนอมอาหารเพื่อสุขภาพระยะเวลา 1 สัปดาห์
- ศึกษาอาหารอาหารเพื่อสุขภาพ
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพที่มีประโยชน์ต่อร่างงกาย
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้และสรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- สืบค้นข้อมูลและนำเสนอวิธีการถนอมเกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษาอาหารเพื่อสุขภาพ
- เตรียมเมนูที่ตนเองต้องการศึกษา เพื่อใช้สำหรับทดลองวิธีถนอมอาหารที่ตนเองได้ศึกษา
- สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับระบบการทำงาน ของอาหารและประโยชน์ของอาหารที่มีต่อร่างกาย
- เตรียมอุปกรณ์สำหรับการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ
ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- สรุปสิ่งที่เรียนรู้จากการตรวจสอบกระบวนการถนอมอาหาร ในรูปแบบที่ตนเองสนใจ อาทิเช่น ชาร์ต, Mind Mapping,การ์ตูนช่อง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
- เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการตรวจสอบสารอาหารการเก็บรักษาอาหารเพื่อสุขภาพ
- เข้าใจและสามารถอธิบายโครงสร้างการทำงานของร่างกายมนุษย์เปรียบเทียบกับโครงสร้างการทำงานของร่างกายสัตว์อื่นๆ ได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะICT
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการเรียนรู้
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากกระบวนการทดลองในรูปแบบที่ตนเองสนใจ อาทิเช่น ชาร์ต, Mind Mapping, การ์ตูนช่อง
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
9
|
โจทย์ : เมนูอาหารจากเนื้อสัตว์ที่ผ่านการถนอมในระยะเวลา 1 เดือน
Key Question :
นักเรียนคิดว่าเมนูอาหารเพื่อสุขภาพที่นักเรียนทำนั้นเป็นประโยชน์อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Show and Share
- Round Rubin
- Flow chart
- Brainstorm
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- วัตถุดิบในการประกอบอาหารเมนูอาหารเพื่อสสุขภาพ
- อุปกรณ์การทำอาหาร
|
- นักเรียนแต่ละคนนำเนื้อของตนเองมาให้เพื่อนร่วมสังเกต และนักเรียนแต่ละคนนำเสนอ ขั้นตอนการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพของตนเองให้เพื่อนและคุณครูร่วมรับฟัง
- แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆ กัน ประกอบเป็นอาหาร นำเสนอเมนูอาหารของตนเอง พร้อมวิธีการนำเสนอเมนูอาหารในรูปแบบรายการ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มเตรียมอุปกรณ์ในการปรุงอาหาร ตามเมนูที่แต่ละกลุ่มสนใจ พร้อมทั้งถ่ายทำรายการอาหารควบคู่ไปด้วย
- รับประทานอาหารร่วมกันแล้วเสนอความคิดเห็น
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ เกี่ยวกับวิธีการถนอมอาหารและการประกอบการอาหารประเภทต่างๆ
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำอาหารลงในสมุดเล่มเล็ก
- ครูและนักเรียนร่วม AAR กิจกรรมออกแบบการเรียนรู้ ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- นำเสนอ ขั้นตอนกระบวนการถนอมเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
- นำเสนอเมนูอาหารของตนเอง พร้อมวิธีการนำเสนอเมนูอาหารในรูปแบบรายการ
- ร่วมพูดคุยวางแผนการทำงาน พร้อมแบ่งหน้าที่ให้เพื่อนๆ ในกลุ่ม สำหรับกิจกรรมถ่ายทำอาหาร
- เตรียมอุปกรณ์ในการปรุงอาหาร ตามเมนูที่แต่ละกลุ่มสนใจ พร้อมทั้งถ่ายทำรายการอาหาร
- อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ เกี่ยวกับวิธีการถนอมอาหารและการประกอบการอาหารประเภทต่างๆ
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำอาหารลงในสมุดเล่มเล็ก
ชิ้นงาน
- สมุดเล่มเล็ก
- Flow chart การทำอาหาร
-
- เมนูอาหาร และ Story Board รายการ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายวิธีการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ตลอดระยะเวลา 1สัปดาห์ ได้อย่างมีคุณภาพ พร้อมทั้งสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารเมนูต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย
ทักษะ
ทักษะICT
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการเรียนรู้
ทักษะชีวิต
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอเมนูอาหารผ่านกระบวนการถ่ายทำรายการได้
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
10
|
โจทย์ : Review กิจกรรมออกแบบการเรียนรู้
Key Questions :
- การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีเป้าหมายชัดเจนในแต่ละสัปดาห์ให้ผลเป็นอย่างไรบ้าง?
- จากรูปแบบกระบวนการเรียน 2 หน่วยที่ผ่านมา นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างและอยากจะพัฒนาสิ่งใดบ้าง?
เครื่องมือคิด :
AAR กิจกรรมออกแบบการเรียนรู้
ร่วมกัน ตลอด 1 Quarter ที่ผ่านมา
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม สรุปประเด็นจาก AAR และนำเสนอความเข้าใจ จาก 2 ประเด็น
** การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีเป้าหมายชัดเจนในแต่ละสัปดาห์ให้ผลเป็นอย่างไร
** จากรูปแบบกระบวนการเรียน 2หน่วยที่ผ่านมา นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างและอยากจะพัฒนาสิ่งใด
Show and share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
บรรยากาศในชั้นเรียน
|
- ครูและนักเรียนร่วม AAR กิจกรรมออกแบบการเรียนรู้
ร่วมกัน ตลอด 1 Quarter ที่ผ่านมา
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม สรุปประเด็นจาก AAR และนำเสนอความเข้าใจ จาก 2 ประเด็น
** การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีเป้าหมายชัดเจนในแต่ละสัปดาห์ให้ผลเป็นอย่างไร
**จากรูปแบบกระบวนการเรียน 2 หน่วยที่ผ่านมา นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างและอยากจะพัฒนาสิ่งใด
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน :
- ร่วม AAR กิจกรรมออกแบบการเรียนรู้ ร่วมกัน ตลอด 1Quarter ที่ผ่านมา
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม สรุปประเด็นจาก AAR และนำเสนอความเข้าใจ จาก 2 ประเด็น
** การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีเป้าหมายชัดเจนในแต่ละสัปดาห์ให้ผลเป็นอย่างไร
**จากรูปแบบกระบวนการเรียน 2 หน่วยที่ผ่านมา นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างและอยากจะพัฒนาสิ่งใด
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน :
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- ชิ้นงานนำเสนอความคิดเห็นต่อประเด็นในวง AAR
|
ความรู้
เข้าใจและสามารถนำเสนอความคิดเห็นมุมมองด้านข้อดีและข้อด้อยของกระบวนการเรียนรู้ที่ผ่านมาเพื่อนำไปพัฒนาต่อได้
ทักษะ :ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน คุณลักษณะ: - รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น - กระตือรือร้นในการทำงาน และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ - ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้า |
วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน 2560
บันทึกการเรียนรู้ประจำวัน
Body Scan ได้ศึกษากิจกรรมจิตศึกษาและได้ทดลองทำและเขียนแผน Body Scan ซึ่งจะมีแบบยืน แบบนั่ง และแบบนอน ทุกแบบจะประกอบด้วยขั้นเตรียม/ขั้นผ่อนคลาย/ขั้นปลุก ในการทำBody Scan จะใช้น้ำเสียงที่ธรรมชาติและอ่อนโยน มีการเว้นช่องไฟ การเตรียมให้เด็กมีสติกลับมารับรู้ตัวเอง รับรู้ลมหายใจ ขั้นผ่อนคลายให้เด็กได้กำหนดความรู้สึกหรือมีสติ สมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราอาจจะใช้วิธีการให้กำหนดลมหายใจไปที่ส่วนต่างๆในร่างกาย การเล่าเรื่อง การอ่านหนังสือเป็นต้น ใส่ข้อมูลเชิงบวก และให้เด็กได้ขอบคุณทุกสรรพสิ่ง ขั้นปลุกเราอาจจะปลุกด้วยการให้ยืดเส้นยืดสาย Brain Gym ร้องเพลง เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นการเตรียมสมองเด็กก่อนเข้าสู่การเรียนในภาคบ่าย จากที่เด็กได้เล่นได้เรียนได้ใช้สมองอย่างหนักในช่วงเช้า คลื่นสมองจะสูง วิธีนี้จะปรับคลื่นสมองให้ดาวน์ลง ซึ่งจะสามารถเรียนรู้ได้ดีที่สุด จากนั้นเป็นการดู VDO ทำให้เรียนรู้ว่ามนุษย์มีศักยภาพสูงมาก ได้เห็นมุมมองว่าเด็กเปรียบเสมือนเมล็ดพันธ์ที่สมบูรณ์เตรียมพร้อมที่จะเจริญงอกงาม ครูมีหน้าที่บ่มเพาะเมล็ดพันธ์ ในโลกนี้มีข้อมูล มีสารเยอะแยะมากมาย แต่หากเราเลือกรับเฉพาะสารที่เราสนใจ ส่วนที่ไม่สนใจก็จะไม่รับ เราก็จะไม่เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆที่กว้างขึ้น เราต้องวางอคติ/ลดทิฐิลงเพื่อเปิดใจรับสิ่งใหม่ความรู้ใหม่ที่กว้างขึ้น
เรียนรู้วิธีขั้นตอนการลงบล็อก การใส่ข้อมูลลงบล็อก ได้ทดลองทำข้อมูลในบล็อกของตัวเอง ได้เรียนรู้การทำ Timeline วางแผนทำตารางการเรียนรู้ของตนเอง ได้เห็นภาพรวม ระยะเวลา สิ่งที่เราจะเรียนรู้ในแต่ละวัน
Body Scan แบบนอน
ขั้นเตรียม
ให้ทุกคนนอนหงาย ขาเหยียดตรง มือสองข้างวางไว้ข้างลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น ปล่อยวางความคิด จากนั้นค่อยๆปิดเปลือกตาลงเบาๆ หายใจเข้า-หายใจออกยาวๆสัก 3-4 ครั้ง กำหนดความรู้สึกไปที่ปลายจมูก
ขั้นผ่อนคลาย
กำหนดความรู้สึกมาที่ใบหน้า กล้ามเนื้อใบหน้าค่อยๆผ่อนคลาย เบา สบาย คิ้วที่ขมวดอยู่ให้เราค่อยๆผ่อนคลาย ไปที่ดวงตา ผ่อนคลายกล้ามเนื้อดวงตาทั้งสองข้าง กำหนดความรู้สึกมาที่แก้มของเรา ค่อยๆผ่อนคลาย ริมฝีปากที่กำลังเม้มอยู่ให้เราค่อยๆผ่อนคลาย กำหนดความรู้สึกมาที่ไหล่ทั้งสองข้าง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อไหล่ทั้งสองข้าง กำหนดความรู้สึกมาที่แขนทั้งสองข้างของเราค่อยๆผ่อนคลาย มาที่แขนทั้งสองข้างที่ช่วยให้ทำสิ่งต่างๆ กำหนดความรู้สึกมาที่เอว มาที่กล้ามเนื้อขาทั้งสองข้างของเราค่อยๆผ่อนคลาย เรารู้สึกสบาย กำหนดความรู้สึกมาที่ฝ่าเท้าของเราทั้งสองข้าง วางปลายเท้าในท่าที่สบาย
จากนั้นกลับมารับรู้ที่ลมหายใจเข้า-ลมหายใจออก จดจ่อกับการรับรู้ลมหายใจ ขอบคุณขาทั้งสองข้างที่แบกรับน้ำหนักเรา นำพาเราไปในที่ที่เราอยากไป ขอบคุณมือทั้งสองข้างที่จะสร้างประโยชน์ในโลกใบนี้ ขอบคุณปากที่จะพูดแต่สิ่งดีงาม ขอบคุณหูทั้งสองข้างที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ขอบคุณดวงตาทั้งสองข้างที่ทำให้เรามองเห็นทุกสรรพสิ่งรอบตัว ขอบคุณร่างกายทุกส่วนที่รวมเป็นเรา ขอบคุณพ่อแม่ที่ให้ชีวิตนี้ เราบอกกับตัวเองว่าเราเป็นคนน่ารัก เราบอกกับตัวเองว่าเราเป็นคนที่รู้เวลา เราบอกกับตัวเองว่าเราเป็นคนที่มีน้ำใจ
ขั้นปลุก
ทุกคนกลับมารับรู้ลมหายใจของตัวเอง หายใจเข้าผ่อนคลาย หายใจออกเบาสบาย รับรู้ความรู้สึกที่ปลายนิ้วทั้งสองข้าง ค่อยๆเปิดเปลือกตาช้าๆ กระพริบตาถี่ๆเพื่อให้ดวงตาของเราได้ปรับแสงที่ผ่านเข้ามา จากนั้นพลิกตัวไปด้านใดด้านหนึ่ง ค่อยๆยื่นมือไปสะกิดเพื่อนข้างๆให้รู้สึกตัว ลุกนั่งเป็นวงกลม (จากนั้นปลุกด้วยท่า Brain Gym)
Timeline
วันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2560
บันทึกการเรียนรู้ประจำวัน
ช่วงเช้าเริ่มต้นด้วยการทำกิจกรรมจิตศึกษา โดยจะเป็นกิจกรรมตั้งคำถามกับสิ่งๆหนึ่ง โดยครูจะตอบเพียงใช่/ไม่ใช่ หน้าที่ของเราคือตั้งคำถาม เช่น เป็นของเหลวใช่หรือไม่ อยู่ในครัวใช่หรือไม่ รูปทรงสี่เหลี่ยมใช่หรือไม่ เป็นต้นและเก็บข้อมูลต่างๆมาประกอบกันเพื่อหาคำตอบว่าสิ่งๆนั้นคืออะไร เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักตั้งคำถาม ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล มีการใช้ความคิด หาเหตุผล คิดว่าเป็นสิ่งนี้เพราะ... ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน กระตุ้นให้อยากหาคำตอบ ในการตั้งคำถามแต่ละครั้ง เราจะตื่นเต้นว่าใช่สิ่งที่เราคิดไหม? มีการระดมความคิด รวบรวมข้อมูลต่างๆ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
ต่อมาได้ทำกราฟชีวิต ว่า ในช่วงวัยต่างๆ มีเหตุการณ์ใดบ้างที่ทำให้เรากลัว ที่ยังฝังใจเราอยู่หรือสามารถจัดการกับความกลัวของตัวเองได้แล้ว แล้วเราก้าวผ่านความกลัวนี้มาได้อย่างไร ทำให้ได้กลับมามองย้อนกลับไปถึงช่วงชีวิตของเรา ได้ทบทวนว่าเราผ่านอะไรมาบ้าง เราจัดการกับสิ่งนั้นหรือผ่านมันมาได้อย่างไร ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ร่วมกัน ได้เห็นเรื่องราว มุมมองความคิดของแต่ละคน ซึ่งมีคุณครูอยู่ท่านหนึ่งที่ถ่ายทอดเรื่องราวแล้วทำให้เกิดความคิดมุมใหม่กับตัวเองคือ เรามีชีวิตอยู่กับจิต ร่างกายไม่ใช่ของเรา เมื่อตอนที่คุณครูท่านนั้นประสบปัญหาสุขภาพแล้วต้องรักษาตัว มีอยู่คำพูดหนึ่งที่ทำให้ฉุกคิดขึ้นได้ “เราอยู่ได้กับจิต ร่างกายไม่ใช่ของเรา ฉะนั้นตอนที่คุณหมอเอาสายอะไรใส่จมูก หรือฉีดยา หรือทำอะไรกับร่างกาย เราก็ปล่อยให้ทำๆไป ก็ไม่ต้องอะไรกับมัน” ซึ่งทำให้เข้าใจถึงคำว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” ถ้าจิตเราไม่เป็นไรก็ไม่มีอะไรสามารถทำอะไรเราได้
จากนั้นในช่วงดู VDO ได้เห็นตัวอย่างของโรงเรียนที่นำเอานวัตกรรม แนวคิดของลำปลายมาศไปใช้ ว่าถ้าทุกฝ่ายมีความเข้าใจ มีความมุ่งหมายเดียวกันที่จะเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย ก็สามารถทำได้ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ก็สามารถทำได้ โดยทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอาศัยผู้นำที่มีความเข้มแข็ง มีจุดยืนที่มั่นคง มีใจที่จะพัฒนาขับเคลื่อนอย่างแท้จริง ซึ่งก็เห็นผลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนอย่างชัดเจน
ช่วงบ่ายได้เรียนรู้การเขียนแผนจิตศึกษาอีก 2 แผน และแผนโยคะ 1 แผน โดยกิจกรรมโยคะครูจะเล่าเรื่องเชื่อมโยงเข้าสู่ท่าโยคะต่างๆ โดยจะช่วยบริหารกล้ามเนื้อส่วนต่างๆให้แข็งแรงขึ้น ได้ผ่อนคลาย ได้เคลื่อนไหวร่างกาย รวมทั้งยังเป็นการฝึกสมาธิที่ดีอีกด้วย
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาปัญญาภายในโดย “จิตศึกษา”
เป้าหมาย
|
กิจกรรม
|
สื่อ/อุปกรณ์
|
ขั้นเตรียม
กำกับสติ/สมาธิ
|
กิจกรรม : เส้นเชือก
ขั้นเตรียม : (5 นาที)
- ครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลม ไหว้ทักทายซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
- นักเรียนกำกับสติด้วย Brain Gym (กรรไกรไข่ผ้าไหม, นับเลขต่อจากผู้สอนพร้อมทำท่าตาม)
- นักเรียนค่อยๆปิดเปลือกตาลงเบาๆ รับรู้ลมหายใจของตัวเอง สัก 2-3 ลมหายใจ
|
-ตะกร้าอุปกรณ์ (กระดาษครึ่ง A4 และเชือก)
|
ขั้นกิจกรรม
- ฝึกการมีสติ ใคร่ครวญตัวเอง
เคารพนอบน้อมต่อตนเองและสรรพสิ่ง
- เห็นความสัมพันธ์เชื่องโยงกับสิ่งต่างๆกับตนเอง
- สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้
|
ขั้นกิจกรรม : (15 นาที)
- ครูนำอุปกรณ์ (เส้นเชือก)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเห็นอะไร” “ใช้ทำอะไรได้บ้าง” “เราจะแปลงร่างเชือกเส้นนี้เป็นอะไร”
- ครูส่งตะกร้าอุปกรณ์ นักเรียนหยิบคนละ 1 ชุด (กระดาษครึ่งA4 1 แผ่น, เชือก 1 เส้น ) โดยส่งทางด้านใดด้านหนึ่งจนครบทุกคน คนสุดท้ายจะวางตะกร้าอุปกรณ์ไว้ด้านหลังตนเอง ก่อนรับ-ส่งอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม เมื่อได้รับอุปกรณ์แล้วทุกคนจะวางไว้ด้านหน้าของตนเอง โดนครูจะมีกาวให้
- นักเรียนลงมือทำชิ้นงาน
- ครูให้นักเรียนนำเสนอผลงาน
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ถ้าไม่มีเชือก เราสามารถใช้อะไรทดแทนได้บ้าง”
- นักเรียนเก็บผลงานและอุปกรณ์ใส่ตะกร้า โดยเริ่มจากคนที่มีตะกร้าอยู่ด้านหลัง และส่งต่อให้เพื่อนทีละคนจนมาถึงคุณครู ก่อนจะรับ-ส่ง อุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
| |
ขั้นจบ
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ 5 นาที
- ครูพูดเสริมแรง ชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
- ครูและนักเรียนทุกคนไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน
|
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาปัญญาภายในโดย “จิตศึกษา”
เป้าหมาย
|
กิจกรรม
|
สื่อ/อุปกรณ์
|
ขั้นเตรียม
กำกับสติ/สมาธิ
|
กิจกรรม : หน้ากาก
ขั้นเตรียม : (5 นาที)
- ครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลม ไหว้ทักทายซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
- นักเรียนกำกับสติด้วย Brain Gym (16 ท่ารักงอมแงม, แบมือไขว้แขนสลับกับเพื่อนข้างๆ มือขวาอยู่บนมือเพื่อน มือซ้ายอยู่ด้านล่างมือเพื่อน จากนั้นไล่นิ้วเริ่มจากนิ้วโป่งไปจนถึงนิ้วก้อน และมือที่ต่อกันก็จะไล่นิ้วก้อยไปนิ้วโป่ง ต่อกันไปเรื่อยๆ โดยเพื่อนจบด้วยนิ้วไหน อีกคนต้องไล่นิ้วนั้นไปหาอีกฝั่ง )
- นักเรียนค่อยๆปิดเปลือกตาลงเบาๆ รับรู้ลมหายใจของตัวเอง สัก 2-3 ลมหายใจ
|
-ตะกร้าอุปกรณ์ (กระดาษ A4 และกรรไกร)
|
ขั้นกิจกรรม
- ฝึกการมีสติ ใคร่ครวญตัวเอง
เคารพนอบน้อมต่อตนเองและสรรพสิ่ง
- เห็นความสัมพันธ์เชื่องโยงกับสิ่งต่างๆกับตนเอง
- สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้
|
ขั้นกิจกรรม : (15 นาที)
- ครูนำอุปกรณ์ (กล่องใบเล็กบรรจุของ)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเห็นอะไร” “นึกถึงอะไร”
- ครูให้นักเรียนตั้งคำถาม เกี่ยวกับสิ่งที่อยู่ข้างในนี้ โดยครูจะตอบว่า ใช่ หรือไม่ใช่
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “จากข้อมูลที่ได้ นักเรียนคิดว่าเป็นอะไร” เมื่อยังไม่สามารถตอบถูกก็ให้เวียนตั้งคำถามอีกรอบหนึ่ง จนกว่าจะมีคนตอบถูก
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนได้อะไรจากกิจกรรมนี้”
- ครูส่งตะกร้าอุปกรณ์ นักเรียนหยิบคนละ 1 ชุด (กระดาษA4 กรรไกร ) โดยส่งทั้งสองฝั่งพร้อมกัน ก่อนรับ-ส่งอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม เมื่อได้รับอุปกรณ์แล้วทุกคนจะวางไว้ด้านหน้าของตนเอง โดนครูจะมีสีให้
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ถ้าเปรียบตัวเองเป็นเหมือนสิ่งๆหนึ่งสิ่งนั้นคืออะไร” “ทำไมจึงเป็นสิ่งนั้น”
- ครูให้นักเรียนทำหน้ากาก และสวมหน้ากากนั้น
- ครูให้นักเรียนนำเสนอผลงาน
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “คิดคนอื่นมองตัวเองตรงกับสิ่งที่เราเป็นหรือไม่ อย่างไร” “นักเรียนได้อะไรจากการทำกิจกรรมนี้”
- นักเรียนเก็บผลงานและอุปกรณ์ใส่ตะกร้า โดยเริ่มจากคนที่มีตะกร้าอยู่ด้านหลัง และส่งต่อให้เพื่อนทีละคนจนมาถึงคุณครู ก่อนจะรับ-ส่ง อุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
| |
ขั้นจบ
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ 5 นาที
- ครูพูดเสริมแรง ชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
- ครูและนักเรียนทุกคนไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน
|
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาปัญญาภายในโดย “จิตศึกษา”
เป้าหมาย
|
กิจกรรม
|
สื่อ/อุปกรณ์
|
ขั้นเตรียม
ฝึกการมีสติรู้ตัว
|
กิจกรรม : โยคะ
ขั้นเตรียม : (5 นาที)
- ครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลม ไหว้ทักทายซึ่งกันและกันด้วยความนอบน้อม
- นักเรียนกำกับสติด้วย Brain Gym (ความเกรงใจ-ความเกรงใจแบบเงียบ)
- นักเรียนค่อยๆปิดเปลือกตาลงเบาๆ รับรู้ลมหายใจของตัวเอง สัก 2-3 ลมหายใจ
|
- เพลงบรรเลงพัฒนาคลื่นสมอง
|
ขั้นกิจกรรม
- ฝึกสมาธิจดจ่อ
- ฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายส่วนต่างๆ
- ฝึกการหายใจเข้าออกอย่างถูกวิธี
|
ขั้นกิจกรรม : (15 นาที)
- ครูและนักเรียนเตรียมความพร้อม ด้วยท่ายืนตัวตรงกำหนดลมหายใจ เข้า ออก สัก 4-5 ลมหายใจ
- ครูเล่าเรื่องที่เชื่อมโยงเข้าสู่ท่าโยคะต่างๆ ในแต่ละท่า
1. ยืน (แต่ละท่าให้ทำ 2 รอบ)
- ท่าไหว้พระอาทิตย์ – ท่าต้นไม้
- ท่าภูเขา – ท่าเก้าอี้
- ท่าเครื่องบิน
2. นั่ง (แต่ละท่าให้ทำ 2 รอบ)
- ท่าผีเสื้อ
- ท่าเต๋า
- ท่าหงส์
3. นอน (แต่ละท่าทำ 2 รอบ)
- ท่าจระเข้
- ท่างูใหญ่
- ท่าคันธนู
- ท่าตั๊กแตน
- ท่าปลาดาว เป็นท่าสุดท้ายในการให้นักเรียนได้ผ่อนคลายร่างกายของตนเอง 5 นาที
- ครูเชิญนักเรียนค่อยๆลุกขึ้นมานั่งเป็นวงกลม
- ครูกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยการนวดแบบนวดจุด
| |
ขั้นจบ
เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ 5 นาที
- ครูพูดเสริมแรง ชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
- ครูและนักเรียนทุกคนไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน
|
ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสาระการเรียนรู้กับมาตรฐานการเรียนรู้
และตัวชี้วัดแต่ละกลุ่มสาระ
หน่วย : “You are what you eat” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Quarter 1 ภาคเรียนที่ 1/2559
สาระ
|
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
|
||||||
วิทยาศาสตร์
|
สังคม
|
ประวัติศาสตร์
|
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
|
สุขศึกษาและ
พลศึกษา
|
ศิลปะ
|
หน้าที่พลเมือง
|
|
1. สร้างฉันทะ
-
เรื่องที่อยากเรียนรู้
-
เลือกหัวข้อหน่วยการเรียนรู้
- สิ่งที่รู้แล้ว
-
สิ่งที่อยากเรียนรู้
-
ปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์
- Mind Mappingก่อนเรียน
|
มาตรฐาน ว 8.1
- สามารถตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็น
หรือเรื่อง สถานการณ์ที่จะศึกษา รวมทั้งปัญหาที่อยากแก้ไขตามความสนใจได้
(ว 8.1 ป.4/1)
-
สามารถออกแบบและวางแผนการเรียนรู้
การศึกษาค้นคว้าเสนอวิธีสำรวจตรวจสอบหรือศึกษาค้นคว้าและคาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการศึกษาค้นคว้าได้
(ว 8.1ป.4/2)
- สร้างคำถามใหม่จากสิ่งที่อยากเรียนรู้และประเด็นปัญหาที่อยากแก้ไขได้
(ว 8.1 ป.4/5) - เข้าใจและสามารถอธิบายแสดงความคิดเห็นนำเสนอและให้เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องหรือหัวข้อที่ตน เองสนใจได้ (ว 8.1 ป.4/5)
-
นำเสนอผลงานการเขียนสรุปปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้และปฏิทินให้ผู้อื่นเข้าใจได้
(ว 8.1 ป.4/8)
|
มาตรฐาน ส 2.1
- เข้าใจและสามารถปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีระหว่างการร่วมกิจกรรมได้ (ส2.1 ป.4/2)
- สามารถนำเสนอวิธีการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขระหว่างการเรียน
การทำกิจกรรมและใช้ในชีวิตประจำวันได้
(ส 2.1 ป.4/5)
|
มาตรฐาน ส 4.1
-
เข้าใจและสามารถนับช่วง
เวลาเป็นศตวรรษและสหัสวรรษและสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ (ส 4.1 ป.4/1)
-
เข้าใจและสามารถอธิบายยุคสมัยในการศึกษาประวัติความเป็นมาของมนุษย์กับปัจจัยขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตได้
(ส 4.1 ป.4/2) |
มาตรฐาน ง 1.1
-
เข้าใจทักษะในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอนและอธิบายเหตุผลในการทำงานได้
(ง 1.1 ป.4/1-2)
- สามารถปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานร่วมกับผู้อื่น (ง 1.1 ป.4/3)
- อธิบายการใช้พลังงานและทรัพยากรในการทำงานได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
(ง 1.1 ป.4/4)
|
มาตรฐาน พ 2.1
สามารถแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมกับเพื่อนทั้งชายและหญิงขณะทำกิจกรรมและเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
(พ 2.1 ป.4/2)
มาตรฐาน พ 4.1
เข้าใจและสามารถอธิบายสภาวะอารมณ์ของคนที่อยู่ในยุคสมัยต่างๆที่มีผลต่อการดำรงชีวิตได้
(พ 4.1 ป.4/5) |
มาตรฐาน ศ 1.1
-
สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานและสามารถอภิปรายเกี่ยวกับอิทธิพลของสีวรรณะอุ่นและ
สีวรรณะเย็นที่มีผลต่ออารมณ์ของมนุษย์ผ่านการวาดตกแต่งผลงานได้
(ศ 1.1 ป.4/2/3)
- เข้าใจทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุ อุปกรณ์สร้างสรรค์ งานวาดภาพระบายสีได้ (ศ 1.1 ป.4/5)
|
จุดเน้นที่ 3
-
มีส่วนร่วมในการสร้างและปฏิบัติตามข้อตกลง กติกาของห้องเรียน
(3 ป.4/6)
-
ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่
มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจในกิจกรรมของครอบครัวและห้องเรียน (3 ป.4/7)
จุดเน้นที่ 4
ยอมรับและอยู่ร่วมกับกับผู้อื่นอย่างสันติและพึ่งพาซึ่งกันและกัน
(4 ป.4/8)
จุดเน้นที่ 5
ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตัวเอง
(5 ป.4/10)
|
สาระ
|
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
|
||||||
วิทยาศาสตร์
|
สังคม
|
ประวัติศาสตร์
|
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
|
สุขศึกษาและ
พลศึกษา
|
ศิลปะ
|
หน้าที่พลเมือง
|
|
2.
โครงสร้าง
หน้าที่และการทำงานของร่างกาย(มนุษย์,พืช และสัตว์)
1. ภายใน - ระบบย่อยอาหาร - ระบบหายใจ - ระบบขับถ่าย
- ระบบโครงกระดูก
- ระบบสืบพันธุ์
ฯลฯ
2. ภายนอก
- ผิวหนัง
- มือ
- เท้า
- แขน - ปาก - ตา
- หู
ฯลฯ
|
มาตรฐาน ว 1.1
- ทดลองสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร (ว 1.1 ป.4/1)
-
อธิบายนำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แสงและคลอโรฟิลล์เป็น
ปัจจัยที่จําเป็นบางประการต่อการเจริญเติบโตและการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช (ว8.1 ป.4/2)
- สังเกตและระบุส่วนประกอบของโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับสายพันธุ์ของมนุษย์และสัตว์ได้
(ว 8.1 ป.5/1)
- อธิบายการทำงาน
ที่สัมพันธ์กันของระบบย่อยอาหาร
ระบบหายใจ และระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์
(ว 8.1 ป.6/2)
มาตรฐาน ว 1.2
- อธิบายการถ่ายทอด
ลักษณะทางพันธุกรรมของมนุษย์สิ่งมีชีวิตในแต่ละรุ่น(ว 1.2 ป.5/2)
- จำแนกสัตว์ออกเป็นกลุ่มโดยใช้ลักษณะภายในบางลักษณะและลักษณะภายนอก
เป็นเกณฑ์
(ว 1.2 ป.5/5)
มาตรฐาน ว 8.1
- ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างมนุษย์และสิ่งมีชีวิตที่จะศึกษาตามที่กำหนด
ให้ และตามความสนใจ (ว 8.1 ป.4/1)
- บันทึกข้อมูลในเชิงปริมาณ นำเสนอ ผลสรุปผลสนใจ
(ว 8.1 ป.4/4)
- แสดงความคิดเห็น และสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
และสนใจเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างมนุษย์และสิ่งมีชีวิต
(ว 8.1 ป.4/6)
- นำเสนอ จัด แสดงผลงาน โดยอธิบายด้วยวาจา หรือเขียนอธิบายกระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
(ว 8.1 ป.4/8) |
มาตรฐาน ส 1.1
ชื่นชมการทำความดีของตนเองและผู้อื่นจากการนำเสนองานโครงสร้างภายใน/ภายนอกของคนและพืชและสัตว์ได้
(ส 1.1 ป.4/5)
มาตรฐาน ส 2.1
- ปฏิบัติตน
ในการ เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
(ส 2.1 ป.4/2)
- เสนอวิธีการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในชีวิตประจำวัน
(ส 2.1 ป.4/5) |
มาตรฐาน ส 4.1
รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
เพื่อตอบคำถามทางประวัติศาสตร์อย่างมีเหตุผล
( ส 4.1 ป. 5 / 2)
มาตรฐาน ส 4.2
อธิบายการตั้งหลักแหล่งและพัฒนาการของมนุษย์และสัตว์ได้
(ส
4.2 ป. 4/1)
|
มาตรฐาน ง 1.1
- ทำงานบรรลุ
เป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอน ด้วยความขยัน อดทนรับผิดชอบและซื่อสัตย์
(ง 1.1 ป.4/2)
- ใช้พลังงานและทรัพยากร
ในการทำงาน
อย่างประหยัด
และคุ้มค่า
(ง 1.1 ป.4/4)
- ใช้ทักษะการจัดการในการทำงาน อย่างเป็นระบบประณีตและมีความคิดสร้างสรรค์
(ง 1.1 ป.5/2)
- ใช้ทักษะ
การจัดการในการทำงานและทักษะการทำงานร่วมกัน
(ง 1.1 ป.6/2)
มาตรฐาน ง 3.1
- ค้นหา รวบรวมข้อมูลที่สนใจและ
เป็นประโยชน์จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เชื่อถือได้ตรงตามวัตถุประสงค์ (ง 3.1 ป.5/1)
- สร้างงานเอกสารเพื่อใช้ประโยชน์
ในชีวิตประจำวันด้วยความรับผิดชอบ
(ง 3.1 ป.5/2)
|
มาตรฐาน พ 1.1
- อธิบายการเจริญเติบ
โตและพัฒนาการ
ของร่างกาย
(พ 1.1 ป.4/1)
- อธิบายความสำคัญ
ของกล้ามเนื้อกระดูกและข้อที่มีผลต่อสุขภาพ
(พ 1.1 ป.4/2)
- อธิบายวิธีดูแลกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิ ภาพ
(พ 1.1 ป.4/3)
- อธิบายความสำคัญ
ของระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายที่มีผลต่อสุขภาพ (ป.5/1)
- อธิบายวิธีดูแลระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายให้ทำงานตามปกติ(พ 1.1 ป.5/2)
- อธิบายความ สำคัญของระบบสืบพันธุ์ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ ที่มีผลต่อสุขภาพ (พ 1.1ป.6/1)
- อธิบายวิธีการดูแลระบบสืบพันธุ์ ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบหายใจให้ทำงานตามปกติ
(พ 1.1 ป.6/2) |
มาตรฐาน ศ 1.1
- อภิปรายเกี่ยวกับ
อิทธิพลของสีวรรณะอุ่น และสีวรรณะเย็นที่มีต่ออารมณ์ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต (ศ 1.1 ป.4/2)
- มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุอุปกรณ์สร้างสรรค์งานวาดภาพระบายสีโครงสร้างของมนุษย์พืชและสัตว์
(ศ 1.1 ป.4/5)
- วาดภาพระบายสี โดยใช้สีวรรณะอุ่นและสีวรรณะเย็นถ่ายทอดความรู้สึกและจินตนาการ
(ศ 1.1 ป.4/7)
มาตรฐาน ศ 2.1
ใช้ดนตรีร่วมกับกิจกรรมในการแสดงออกตามจินตนาการ (ศ 2.1 ป5/7) |
จุดเน้นที่ 3
-
มีส่วนร่วมในการสร้างและปฏิบัติตามข้อตกลง กติกาของห้องเรียน
(3 ป.4/6)
-
ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่
มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจในกิจกรรมของครอบครัวและห้องเรียน (3 ป.4/7)
จุดเน้นที่ 4
ยอมรับและอยู่ร่วมกับกับผู้อื่นอย่างสันติและพึ่งพาซึ่งกันและกัน
(4 ป.4/8)
จุดเน้นที่ 5
ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตัวเอง
(5 ป.4/10)
|
สาระ
|
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
|
||||||
วิทยาศาสตร์
|
สังคม
|
ประวัติศาสตร์
|
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
|
สุขศึกษาและ
พลศึกษา
|
ศิลปะ
|
หน้าที่พลเมือง
|
|
3. โรคที่มาจากการอ้วน
- โรคหัวใจและหลอดเลือด - โรคมะเร็งในเด็ก - ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ |
มาตรฐาน ว 8.1
- แสดงความคิดเห็น และสามารถสรุปโรคที่เกิดจาการอ้วนได้
(ว 8.1 ป.4/6)
- นำเสนอโรคที่เกิดจากการอ้วนผ่านบทบาทสมมุติเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้
(ว 8.1 ป.4/8) |
มาตรฐาน ส 1.1
ชื่นชมการทำความดีของตนเองและผู้อื่นจากการแสดงบทบาทสมมุติ
(ส 1.1 ป.4/5)
มาตรฐาน ส 2.1
- ปฏิบัติตนในการ
เป็นผู้นำและผู้ตาม ที่ดี (ส 2.1 ป.4/2)
- เสนอวิธีการที่จะอยู่อย่างปลอดภัยในชีวิตประจำวันได้
(ส 2.1 ป.4/5) |
มาตรฐาน ส 4.1
รวบรวมข้อมูลจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
เพื่อตอบคำถามสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วนได้
( ส 4.1 ป. 5/1) |
มาตรฐาน ง 1.1
- ทำงานบรรลุ
เป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอน ด้วยความขยัน อดทนรับผิดชอบและซื่อสัตย์(ง 1.1ป.4/2)
- ใช้พลังงานและทรัพยากรในการทำงานอย่างประหยัด
และคุ้มค่า
(ง 1.1 ป.4/4)
- ใช้ทักษะการจัดการในการทำงาน อย่างเป็นระบบประณีตและมีความคิดสร้างสรรค์
(ง 1.1 ป.5/2) |
มาตรฐาน พ 4.1
- สามารถอธิบาย
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมต่างๆที่มีผลต่อสุขภาพได้
(พ 4.1 ป.4/1) - สามารถอธิบาย สุขภาวะอารมณ์ความรู้สึกที่มีผลต่อสุขภาพได้ (พ 4.1 ป.4/2) มาตรฐาน พ 5.1 อธิบายความสำคัญของการใช้ยาและการใช้ยาอย่างถูกวิธีเพื่อดูแลรักษาสุขภาพของตนเองได้ (พ 5.1ป.5/1) |
มาตรฐาน ศ 1.1
- อภิปรายเกี่ยวกับ
อิทธิพลของสีวรรณะอุ่น และสีวรรณะเย็นที่มีต่ออารมณ์ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต (ศ 1.1 ป.4/2)
- มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุอุปกรณ์สร้างสรรค์งานวาดภาพระบายสีโครงสร้างของมนุษย์พืชและสัตว์
(ศ 1.1 ป.4/5)
- วาดภาพระบายสี โดยใช้สีวรรณะอุ่นและสีวรรณะเย็นถ่ายทอดความรู้สึกและจินตนาการ
(ศ 1.1 ป.4/7) |
จุดเน้นที่ 3
-
มีส่วนร่วมในการสร้างและปฏิบัติตามข้อตกลง กติกาของห้องเรียน
(3 ป.4/6)
-
ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่
มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจในกิจกรรมของครอบครัวและห้องเรียน (3 ป.4/7)
จุดเน้นที่ 4
ยอมรับและอยู่ร่วมกับกับผู้อื่นอย่างสันติและพึ่งพาซึ่งกันและกัน
(4 ป.4/8)
จุดเน้นที่ 5
ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตัวเอง
(5 ป.4/10)
|
สาระ
|
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
|
||||||
วิทยาศาสตร์
|
สังคม
|
ประวัติศาสตร์
|
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
|
สุขศึกษาและ
พลศึกษา
|
ศิลปะ
|
หน้าที่พลเมือง
|
|
4. อาหารสุขภาพ
- อาหารหลัก 5หมู่ - ทดสอบสารอาหาร - การประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ |
มาตรฐาน ว 8.1
-
สามารถตั้งคำถามเกี่ยวกับการทดสอบสารอาหารได้
(ว 8.1 ป.4/1) - แสดงความคิดเห็น และสามารถสรุปอาหารหลัก 5 หมู่ได้ (ว 8.1 ป.4/6)
- นำเสนอโรคที่เกิดจากการอ้วนผ่านบทบาทสมมุติเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้
(ว 8.1 ป.4/8) |
มาตรฐาน ส 1.1
ชื่นชมการทำความดีของตนเองและผู้อื่นจากการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพให้ผู้อื่นได้รับประทาน
(ส 1.1 ป.4/5)
มาตรฐาน ส 2.1
- ปฏิบัติตนในการ
เป็นผู้นำและผู้ตาม ที่ดีในการร่วมประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ (ส 2.1 ป.4/2)
- เสนอวิธีการที่จะอยู่อย่างปลอดภัยในชีวิตประจำวันได้
(ส 2.1 ป.4/5) |
มาตรฐาน ส 4.3
อธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำคัญในการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพได้
( ส 4.3 ป. 4 / 3) |
มาตรฐาน ง 1.1
- ทำงานบรรลุ เป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอน
ด้วยความขยัน อดทนรับผิดชอบและซื่อสัตย์(ง 1.1ป.4/2)
- ใช้พลังงานและทรัพยากรในการทำงานอย่างประหยัด
และคุ้มค่า
(ง 1.1 ป.4/4)
- ใช้ทักษะการจัดการในการทำงาน อย่างเป็นระบบประณีตและมีความคิดสร้างสรรค์
(ง 1.1 ป.5/2) |
มาตรฐาน พ 4.1
- สามารถวิเคราะห์ข้อมูลบนฉลากอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อการเลือกบริโภคได้ (พ 4.1 ป.4/3) - สามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีได้ (พ 4.1 ป.5/2) มาตรฐาน พ 5.1 สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับอันตรายจากการประกอบอาหารได้ (พ 5.1 ป.5/2) |
มาตรฐาน ศ 1.1
- อภิปรายเกี่ยวกับ
อิทธิพลของสีวรรณะอุ่น และสีวรรณะเย็นที่มีต่ออารมณ์ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต (ศ 1.1 ป.4/2)
- มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุอุปกรณ์สร้างสรรค์งานวาดภาพระบายสีโครงสร้างของมนุษย์พืชและสัตว์
(ศ 1.1 ป.4/5)
- วาดภาพระบายสี โดยใช้สีวรรณะอุ่นและสีวรรณะเย็นถ่ายทอดความรู้สึกและจินตนาการ
(ศ 1.1 ป.4/7) |
จุดเน้นที่ 3
-
มีส่วนร่วมในการสร้างและปฏิบัติตามข้อตกลง กติกาของห้องเรียน
(3 ป.4/6)
-
ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่
มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจในกิจกรรมของครอบครัวและห้องเรียน (3 ป.4/7)
จุดเน้นที่ 4
ยอมรับและอยู่ร่วมกับกับผู้อื่นอย่างสันติและพึ่งพาซึ่งกันและกัน
(4 ป.4/8)
จุดเน้นที่ 5
ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตัวเอง
(5 ป.4/10)
|
สาระ
|
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
|
||||||
วิทยาศาสตร์
|
สังคม
|
ประวัติศาสตร์
|
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
|
สุขศึกษาและ
พลศึกษา
|
ศิลปะ
|
หน้าที่พลเมือง
|
|
5. การดูสุขภาวะของตัวเราและการรู้เท่าทันสื่อโฆษณา
|
มาตรฐาน ว 8.1
-
สามารถตั้งคำถามเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารที่ปลอดภัยสำหรับตนเองได้
(ว 8.1 ป.4/1) - แสดงความคิดเห็น และสามารถสรุปการดูแลสุขภาวะของตนเองในชีวิตประจำวันได้ (ว 8.1 ป.4/6)
- นำเสนอแผนการดูแลสุขภาวะของตนเองเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้
(ว 8.1 ป.4/8) |
มาตรฐาน ส 1.1
ชื่นชมการทำความดีของตนเองและผู้อื่นจากการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพให้ผู้อื่นได้รับประทาน
(ส 1.1 ป.4/5)
มาตรฐาน ส 2.1
- ปฏิบัติตนในการ
เป็นผู้นำและผู้ตาม ที่ดีในการร่วมประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ (ส 2.1 ป.4/2)
- เสนอวิธีการที่จะอยู่อย่างปลอดภัยในชีวิตประจำวันได้
(ส 2.1 ป.4/5) |
มาตรฐาน ส 4.1
รวบรวมข้อมูลจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
เพื่อให้รู้เท่าทันกับสื่อโฆษณาที่หลากหลายในปัจจุบัน
( ส 4.1 ป. 5/1) |
มาตรฐาน ง 1.1
- ทำงานบรรลุ
เป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอน ด้วยความขยัน อดทนรับผิดชอบและซื่อสัตย์(ง 1.1ป.4/2)
- ใช้พลังงานและทรัพยากรในการทำงานอย่างประหยัด
และคุ้มค่า
(ง 1.1 ป.4/4)
- ใช้ทักษะการจัดการในการทำงาน อย่างเป็นระบบประณีตและมีความคิดสร้างสรรค์
(ง 1.1 ป.5/2) |
มาตรฐาน พ 4.1
- สามารถทดสอบและปรับปรุงสมรรถภาพทางกายตามผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายและออกแบบการดูแลสุขภาวะของตนเองได้ (พ 4.1ป.4/4) - สามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีได้ (พ 4.1 ป.5/2) - สามารถวิเคราะห์สื่อโฆษณาในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างมีเหตุผล (พ 4.1 ป.5/3) |
มาตรฐาน ศ 1.1
- อภิปรายเกี่ยวกับ
อิทธิพลของสีวรรณะอุ่น และสีวรรณะเย็นที่มีต่ออารมณ์ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต (ศ 1.1 ป.4/2)
- มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุอุปกรณ์สร้างสรรค์งานวาดภาพระบายสีโครงสร้างของมนุษย์พืชและสัตว์
(ศ 1.1 ป.4/5)
- วาดภาพระบายสี โดยใช้สีวรรณะอุ่นและสีวรรณะเย็นถ่ายทอดความรู้สึกและจินตนาการ
(ศ 1.1 ป.4/7) |
จุดเน้นที่ 3
-
มีส่วนร่วมในการสร้างและปฏิบัติตามข้อตกลง กติกาของห้องเรียน
(3 ป.4/6)
-
ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่
มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจในกิจกรรมของครอบครัวและห้องเรียน (3 ป.4/7)
จุดเน้นที่ 4
ยอมรับและอยู่ร่วมกับกับผู้อื่นอย่างสันติและพึ่งพาซึ่งกันและกัน
(4 ป.4/8)
จุดเน้นที่ 5
ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตัวเอง
(5 ป.4/10)
|
สาระ
|
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชากับตัวชี้วัด
|
||||||
วิทยาศาสตร์
|
สังคม
|
ประวัติศาสตร์
|
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
|
สุขศึกษาและ
พลศึกษา
|
ศิลปะ
|
หน้าที่พลเมือง
|
|
6. สรุปการเรียนรู้
-
วิเคราะห์สิ่งที่อยากเรียนรู้
- สิ่งที่ดีแล้ว
สิ่งที่ควรปรับปรุง
- Mind Mappingหลังเรียนรู้
- นำเสนอการเรียนรู้
|
มาตรฐาน ว 8.1
-
ใช้กระบวนการการทางวิทยาศาสตร์ ตั้งคำถามและหาคำตอบเกี่ยวกับน้ำในปัจจุบันและอนาคตผ่านการทำชิ้นงานแผนภาพ
ความคิดและการแสดงแล้วนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจสิ่งที่ตนเองศึกษา
(ว 8.1 ป.4/1)
-
จัดกลุ่มข้อมูลเปรียบเทียบและนำเสนอผลการศึกษาเรียนรู้
แสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มรวบรวม และสรุปความรู้จากสิ่งที่อยากเรียนรู้พร้อมทั้งระบุสิ่งที่ดีแล้วและสิ่งที่
ควรปรับปรุงในการเรียนรู้ได้ (ว 8.1 ป.4/4-6)
-
บันทึกและอธิบายผลการศึกษาค้นคว้า การตรวจสอบ โดยสรุปเป็นMind Mapping หรือคำอธิบาย
แล้วนำเสนอผลงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้
(ว 8.1 ป.4/7-8) |
มาตรฐาน ส 1.1
ชื่นชมและให้กำลังใจเมื่อเพื่อนหรือสมาชิกกระทำสิ่งที่เหมาะสมอย่างจริงใจ
(ส 1.1 ป.4/5)
มาตรฐาน ส 1.2
ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานร่วมกับผู้อื่นตามหน้าที่ของตน
(ส 1.2 ป.4/1) |
มาตรฐาน ส 4.2
-
อธิบายผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง
เรื่องน้ำที่มีผลต่อการใช้ชีวิตในชุมชน (ส 4.2 ป. 4/2)
-
เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของวัฒนธรรมชุมชนที่เกี่ยวข้องกับน้ำในอดีตและปัจจุบัน
(ส 4.2 ป.4/3) |
มาตรฐาน ง 1.1
ทำงานได้ด้วยตนเอง
แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและมีความระมัดระวังรอบคอบในการทำงาน
(ง 1.1 ป. 4/3)
มาตรฐาน ง 2.1
มีความคิดสร้างสรรค์สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
(ง 2.1 ป.4/4) |
มาตรฐาน พ 2.1
-
ระบุบทบาทหน้าที่ของตนเองต่อสมาชิกในกลุ่มและเพื่อนร่วมชั้นในการวางแผนสรุปการเรียนรู้
(พ 2.1 ป. 4/1)
- ให้เกียรติและบอกความสำคัญของเพื่อนต่อกระบวนการเรียน
การทำงาน รวมทั้งการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันได้
(พ 2.1 ป. 4/2) |
มาตรฐาน ศ 1.1
สามารถสร้างสรรค์ผลงานและออกแบบฉากประกอบการแสดงได้
(ศ 1.1 ป.4/7)
มาตรฐาน ศ 2.1
สามารถร้องเพลงประกอบการแสดงสรุปการเรียนรู้
พร้อมทั้งเคลื่อนไหวท่าทางได้เหมาะสมสอดคล้องกับเพลงที่ร้อง (ศ 2.1 ป.4/5)
มาตรฐาน ศ 3.1
มีมารยาทในการเป็นผู้ชมและผู้แสดงที่เหมาะสม
(ศ 3.1 ป.4/5) |
จุดเน้นที่ 3
-
มีส่วนร่วมในการสร้างและปฏิบัติตามข้อตกลง กติกาของห้องเรียน
(3 ป.4/6)
-
ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจในกิจกรรมของครอบครัวและห้องเรียน
(3 ป.4/7)
จุดเน้นที่ 4
ยอมรับและอยู่ร่วมกับกับผู้อื่นอย่างสันติและพึ่งพาซึ่งกันและกัน
(4 ป.4/8)
จุดเน้นที่ 5
ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตัวเอง
(5 ป.4/10)
|
วันอังคารที่ 26 เมษายน 2560
ช่วงเช้าเป็นกิจกรรมจิตศึกษา
โดยตัวแทนจากคุณครูโรงเรียนประชารัฐ เป็นกิจกรรมทายของที่อยู่ข้างใน ฝึกตั้งคำถามจากสิ่งๆนั้น
และแลกเปลี่ยนความรู้สึกจากกิจกรรมครั้งนี้
ส่วนต่อมาเป็นการเรียนรู้การสอนในรายวิชาคณิตศาสตร์, วิชาภาษาไทย
ในส่วนของรายวิชาคณิตศาสตร์จะไม่ใช่การท่องจำสูตรเป็นเป็นการเข้าใจกระบวนการ
ใช้ความรู้สึกเชิงจำนวน ในรายวิชาภาษาไทยจะสอนผ่านวรรณกรรม สอนภาษาโดยใช้วรรณกรรม
ไม่มีแบบเรียน แต่ให้เรียนรู้ผ่านการใช้ภาษาจริงจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล
เรื่องราว เหตุการณ์ ผ่านวรรณกรรม และในการวัดผลประเมินผลจะประเมินตามสภาพจริง
ประเมินจากผลงานที่เด็กทำ พัฒนายกระดับให้ทุกคนงอกงามขึ้นไปพร้อมๆกับการจัดการเรียนการสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น