15/5/2560
วันแรกของการเปิดเรียน
พี่ๆกระตือรือร้นอย่างมาก มาโรงเรียนแต่เช้า หลังจากเคารพธงชาติ เข้าห้องเรียนเริ่มต้นด้วยจิตศึกษา
เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเรียน หลังจากนั้นจะเรียนในรายวิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์ ส่วนช่วงบ่ายจะเป็นBody
Scan ตามด้วย PBL
สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ วิถีของโรงเรียน ที่นี่ส่วนใหญ่นักเรียนจะมาโรงเรียนแต่เช้า และช่วยกันปรนนิบัติสถานที่ แปดโมงเคารพธงชาติ เริ่มต้นร้องเพลงชาติ สวดมนต์ไหว้พระ ร้องเพลงแผ่เมตตา และไหว้กันซึ่งกันและกัน โดยเป็นกิจกรรมสั้นๆ หลังจากนั้นจึงเข้าห้องเรียน ทำจิตศึกษาตามด้วยรายวิชา ซึ่งที่นี่จะเรียนเพียง3 วิชาคือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เรียนรู้กระบวนการสอนของครู กิจกรรม การตั้งคำถามกับนักเรียน การจัดการชั้นเรียน
สิ่งที่ต้องเพิ่มเติมหรือพัฒนาตัวเองคือการสร้างปฏิสัมพันธ์กับทั้งตัวนักเรียนและผู้ปกครองไม่เฉพาะกับห้องที่ประจำเท่านั้น
แต่ต้องทุกห้อง ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก เนื่องจากเราต้องเป็นผู้สอน
เราต้องรู้จักนักเรียนทุกคน เรียนรู้นักเรียน
สังเกตพฤติกรรมเพื่อเป็นแนวทางในการให้การช่วยเหลือพัฒนานักเรียนต่อไป
แรงบันดาลใจ
-
ตอนเด็กเราอยากได้ครูแบบไหน เราก็ต้องทำแบบนั้น
-
ตัวครูต้องเป็นแบบอย่างให้กับเด็ก ทำให้เห็น ไม่ใช่เพียงแต่สั่ง
ไม่ใช่บอกว่าห้ามทำแบบนี้ๆ
แต่ต้องทำให้เค้าเห็นให้เค้าเรียนรู้ว่าทำสิ่งนี้จะได้อะไร
ทำสิ่งที่จะเกิดอะไรตามมา
เริ่มต้นด้วยการทำจิตศึกษา พี่ๆป.2 วาดรูปความรู้สึก และเขียนเล่าความสุข
ส่วนใหญ่ความสุขของพี่ๆจะเป็นการได้ไปเที่ยว บางคนมีความสุขที่ได้เลี้ยงน้อง ก่อนจะถึงคาบวิชาคณิตศาสตร์ครูแป้งให้พี่ๆคิดว่าอยากจะเรียนเรื่องอะไรในรายวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่พี่ๆจะตอบว่าอยากเรียนเรื่องการคูณและการหาร
มีบางส่วนที่อยากจะเรียนครบทั้งบวกลบคูณหารเลย ในรายวิชาคณิตศาสตร์
ครูกลอยสอนเรื่องการบวกและการลบให้พี่ๆได้เรียนรู้ร่วมกัน ซึ่ง วิชาภาษาอังกฤษ
ครูแป้งให้พี่ๆแนะนำตัวเอง ชื่อ อายุ ความรู้สึก ทีละคน และเล่นเกมเดาคำศัพท์Hangman
พี่ๆสนุกสนานและให้ความสนใจกระตือรือร้นให้การเดาคำศัพท์เป็นอย่างมาก ต่อด้วยวิชาภาษาไทย
เริ่มต้นด้วยการทบทวนเรื่องที่เรียนคราวที่แล้วว่ามีข้อคิดข้อสังเกตอะไร
จากเรื่องลูกหมู3 ตัว
ถ้าขี้เกียจทำงานจะเป็นอย่างไร และให้โจทย์ คาดเดานิทานรูปสัตว์
สิ่งที่คาดว่าจะได้เรียนรู้จากนิทานเรื่องนี้ และอยากเรียนรู้อย่างไร
ซึ่งพี่ๆส่วนใหญ่จะคาดเดาเรื่องราวมีตัวละครสัตว์ เรื่องราวอยู่ในป่า ในน้ำ
เป็นเรื่องสั้นๆ และอยากเรียนรู้ในรูปแบบการแสดงละคร บทบาสมมติ
ช่วงบ่าย เริ่มต้นด้วย Body scan แบบนอน ต่อด้วย PBL ใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ในบุญประเพณีเรามักจะเจอะอะไร” “ทำไมจึงต้องมีงานบุญ” “บุญคืออะไร” และร่วมกันทบทวนงานบุญใน 12 เดือน แต่ละเดือนจะเป็นช่วงของงานบุญอะไรบ้าง ซึ่งพี่ๆได้ร่วมกันคิดและมีบางเดือนที่ยังไม่ทราบแน่ชัด มีพี่คนหนึ่งถามว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่างานบุญที่เราคิดนั้นถูกต้อง ครูแป้งจึงให้โจทย์ ให้พี่ๆเขียนและวาดรูปเรื่องที่อยากจะรู้ และต้องเรียนเรื่องอะไรเราถึงจะได้คำตอบ ส่วนใหญ่พี่ๆบอกว่าอยากเรียนเรื่องบุญประเพณี 12 เดือน นอกจากนั้นก็เป็นบุญบั้งไฟ สงกรานต์ บุญคูณลาน และหลังจากนั้นครูได้ให้การบ้านให้พี่ๆช่วยคิดชื่อหน่วยPBLคนละ 1 ชื่อ และก่อนกลับร่วมกันทบทวนสิ่งที่เรียนมาทั้งวัน
สิ่งที่ได้เรียนรู้
เรียนรู้การสังเกตเด็ก การทำจิตศึกษา กระบวนการสอนของครู การจัดการชั้นเรียน รายละเอียดต่างๆ เห็นถึงความทุ่มเทของครู
เรียนรู้การสังเกตเด็ก การทำจิตศึกษา กระบวนการสอนของครู การจัดการชั้นเรียน รายละเอียดต่างๆ เห็นถึงความทุ่มเทของครู
แรงบันดาลใจ
ครูที่ดีจะไม่ปล่อยโอกาสที่เด็กจะได้เรียนรู้ แม้แต่วินาทีเดียว
ครูที่ดีจะไม่ปล่อยโอกาสที่เด็กจะได้เรียนรู้ แม้แต่วินาทีเดียว
เริ่มวันใหม่ด้วยโยคะ
พี่ๆดูมุ่งมั่น ตั้งใจในการทำโยคะ หลังเสร็จกิจกรรมโยคะ
ครูแป้งได้ทบทวนการบ้านคราวที่แล้วที่ให้ช่วยกันคิดชื่อหน่อย PBL พี่ๆส่วนใหญ่
ตอบเป็นชื่อ บุญ 12 เดือน และมีที่แตกต่างคือ ชื่อบุญแห่งความรู้ หลังจากทบทวนเสร็จแล้ว เป็นรายวิชาคณิตศาสตร์ของครูกลอย ให้พี่ๆฉีกกระดาษเป็นตัวเลข และฉีกกระดาษให้ได้ยาวที่สุดจากนั้นร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าแบบไหนฉีกยากกว่ากันและจึงโยงสองเรื่องเลขหลัก
และเล่มเกม + - เลข พี่ๆสนุกสนาน กระตือรือร้นในการตอบหาคำตอบอย่างมาก หลังเรียนเสร็จครูกลอยให้โจทย์พี่ๆ
คิดเลข 3 หลัก บวกกันและได้ 999
ต่อด้วยเกมภาษาไทยของครูแป้ง
โดยก่อนเรียนเช็คงาน การบ้าน (นิทานรูปสัตว์) โดยใช้คำถามว่าได้ข้อคิดอะไร
เรียนรู้อะไร จากนิทานที่เพื่อนคาดเดา พี่ๆตอบว่า การต่อสู้ไม่ช่วยอะไร ลูกที่ดีของพ่อแม่จะไม่ทำร้ายคนอื่น
มองเห็นถึงความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูก จากนั้นครูแป้งให้งานสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนเป็น
Mind Mep
ช่วงบ่าย Body
scan แบบยืน/นั่ง ไม่ได้เรียนPBL เนื่องจากต้องเลือกกิจกรรมชุมนุม
ให้พี่ๆรวมกันกลุ่มเองว่าอยากอยู่ชุมนุมอะไร เลือกครูที่ปรึกษาเอง โดยมีข้อแม้ว่าสมาชิกต้องประกอบด้วยพี่ๆทุกชั้น
มีการพูดคุยกันขอคนอาสาสันติ
ซึ่งมีพี่ๆสนใจและอยากจะทำงานส่วนรวมตรงนี้
แต่สุดท้ายได้ข้อมูลเป็นพี่ต้นกล้าและพี่หยก
ซึ่งคนอื่นที่อยากเป็นเหมือนกันขอให้ปีหน้า
สิ่งที่เรียนรู้
การทำโยคะ เรียนรู้ในเรื่องของเทคนิคในการชี้แนะคำที่นักเรียนเขียนผิด ที่ไม่มีการบอกว่านักเรียนทำผิด เขียนผิด แต่จะเป็นรูปแบบการใช้คำว่า ครูมีข้อสังเกตเกี่ยวกับคำว่า ...... กับ...... สอนว่าเขียนแบบไหนมีความหมายอย่างไร
การทำโยคะ เรียนรู้ในเรื่องของเทคนิคในการชี้แนะคำที่นักเรียนเขียนผิด ที่ไม่มีการบอกว่านักเรียนทำผิด เขียนผิด แต่จะเป็นรูปแบบการใช้คำว่า ครูมีข้อสังเกตเกี่ยวกับคำว่า ...... กับ...... สอนว่าเขียนแบบไหนมีความหมายอย่างไร
แรงบันดาลใจ
ตอนเช้ามีพี่ป.2 คนหนึ่งเอาโจทย์เลขมาช่วยดูให้ว่าทำถูกต้องไหม เป็นตัวเลขที่คิดเอง ไม่ใช่การบ้าน แต่นักเรียนทำมาเอง เป็นตัวเลขหลายหลักและค่อนข้างยากและหลายหลักคูณกัน ซึ่งทำให้รู้สึกว่านักเรียนอยากที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
ตอนเช้ามีพี่ป.2 คนหนึ่งเอาโจทย์เลขมาช่วยดูให้ว่าทำถูกต้องไหม เป็นตัวเลขที่คิดเอง ไม่ใช่การบ้าน แต่นักเรียนทำมาเอง เป็นตัวเลขหลายหลักและค่อนข้างยากและหลายหลักคูณกัน ซึ่งทำให้รู้สึกว่านักเรียนอยากที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
18/5/2560
จิตศึกษา
พี่ๆร่วมกันสร้างงานศิลปะ แต่ละคนสามารถวาดรูปได้คนละ 2 รูป
ลงในกระดาษแผ่นเดียวกัน และร่วมกันตั้งชื่องานศิลปะของพี่ชั้นป.2 ร่วมกัน
คณิตศาสตร์ ครูกลอยเล่าเรื่องเกี่ยวกับเจ้าป่ากับเจ้าเขาที่เป็นเพื่อนกัน แต่ไม่ได้พูดคุยกันจนทำให้เกิดปัญหาและให้พี่ๆร่วมกันบอกข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
จากนั้นรวมกันคิดเลขโจทย์บวกเลขตั้งแต่หลักสิบจนถึงหลักพัน
และให้งานโจทย์คณิตศาสตร์ที่แตกต่างกัน วิชาภาษาไทย
พี่ๆร่วมกันทบทวนมาตราตัวสะกด
และสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนภาษาไทย Q1/2560 ประกอบด้วย
คำศัพท์, นิทาน, มาตราตัวสะกด,
สระ, ข้อคิดนิทาน, เรื่องที่อยากเรียน สรุปเป็นMind mep
จากนั้นภาษาอังกฤษ ทบทวนความรู้เดิม ครูทบทวนการออกเสียงตัวภาษาอังกฤษ
โดยครูจะพูดตัวภาษาอังกฤษให้พี่ออกเสียง
เมื่อมีตัวที่ออกเสียงไม่ถูกต้องครูจะพูดคำนั้นซ้ำๆ จนกว่าเด็กจะออกเสียงถูกต้อง
โดยไม่ได้บอกว่าคำที่พี่ๆออกเสียงนั้นไม่ถูกต้อง และทวนคำศัพท์
โดยการใช้สื่อเทคโนโลยีให้เด็กพี่ๆได้ฟังการออกเสียงจากเจ้าของภาษาโดยตรง
ช่วงบ่าย
เข้าห้องสมุด พี่ๆต่างพากันหาหนังสือ
ซึ่งวันนี้ยังไม่สามารถยืมหนังสือได้ต้องรอเป็นสัปดาห์
ก่อนหมดเวลาครูสุ่มถามหนังสือที่พี่ๆอ่าน
ในคาบPBL ร่วมกันคิดชื่อหน่วยอีกครั้ง คนละชื่อ จากนั้นเข้ากลุ่ม4
กลุ่ม
ภายในกลุ่มช่วยกันคิดกลุ่มละ 1 ชื่อ พูดคุยหาข้อสรุปวิธีใดก็ได้ แต่ไม่ใช้การโหวดยกมือ
เมื่อ 4 กลุ่มได้ชื่อก็ แบ่งเป็น 2 กลุ่มและรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ซึ่ง 2 กลุ่มใหญ่คิดได้ชื่อ
ร่วมบุญสามัคคี และ ฮีตบุญอีสานของเรา
และได้ข้อสรุปของห้องเป็นชื่อ ฮีตบุญร่วมบุญ จากนั้นครูแป้งให้การบ้านภาษาอังกฤษ
เลือกคำศัพท์จำนวน 5 คำ ให้เขียนคำศัพท์/วาดรูปและให้ฝึกท่องคำศัพท์ และทบทวนสิ่งที่เรียนมาตลอดทั้งวัน
สิ่งที่ได้เรียนรู้
การจัดการชั้นเรียน
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมกันอย่างแท้จริง
เรียนรู้กระบวนการสอน การตั้งคำถาม การหาข้อสรุปร่วมกันของห้อง เช่น กิจกรรมตั้งชื่อหน่วยที่ต่างคนต่างคิด
แล้วนำมารวมกัน โดยที่ไม่ใช้วิธีการโหวดที่เลือกเอาความคิดของแต่ละคนมาแล้วยกมือโหวดว่าจะเอาชื่อไหน
แต่เป็นการเอาความคิดของทุกคนมารวมกัน ซึ่งประทับใจในส่วนนี้
19/5/2560
ช่วงเช้าจิตศึกษา
เล่าเรื่อง
รร.แห่งหนึ่งที่ให้นักเรียนที่กำลังจะจบการศึกษาได้เขียนจดหมายถึงตัวเอง ใน 10
ปีข้างหน้าคาดว่าเราจะเป็นอย่างอย่างไร แล้วอีก 10 ปีก็จะมาเปิดจดหมายที่ตัวเองเขียน ครูแป้งให้พี่ๆจับคู่กัน ให้โจทย์ “ภายใน 1
ปีนี้
จะเตรียมตัวเองให้เป็นพี่ป.3 อย่างไร” โดยใช้คำถามกระตุ้นการคิด “จะทำอะไรเพื่อตัวเอง”
“จะทำอะไรเพื่อคนอื่น”
“เรื่องอะไรที่ทำให้มีความสุข”
“เรื่องอะไรที่เคยทำให้เสียใจ”
ให้พี่ๆได้ใคร่ครวญแต่ละคู่เล่าให้เพื่อนฟัง
จากนั้นก็แชร์ความรู้สึกร่วมกัน
วิชาภาษาอังกฤษ
พี่ๆเขียนคำศัพท์ เกี่ยวกับ สัตว์/อาหาร/ผลไม้/ร่างกาย/คำที่ประกอบ A-Z โดยได้มีส่วนช่วยในการดูแลพี่ๆช่วยสอนพี่ๆระหว่างทำงาน
หลังจากนั้นตรวจงานภาษาไทยเคลียร์งานที่ค้างอยู่
ดนตรี
เริ่มต้นด้วยการอธิบายเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ใช้คำถามกระตุ้นการคิด “เครื่องดนตรีใดบ้างที่เราสามารถทำเองได้”
สอนนับจังหวะโดยใช้
กรับ ให้พี่ๆฟังเสียงกรับที่ครูกระทบจังหวะ หรือเสียงที่เกิดจากการกระทบในตำแหน่งที่แตกต่างกัน
จากนั้นให้พี่ๆแบ่งกลุ่มแปลงร่างเป็นเมล็ดพันธ์ โจทย์คือ
ทำตัวเองเป็นเมล็ดพันธ์ที่อยู่ในดินให้เล็กที่สุด และเมื่อได้ยินเสียงจังหวะ (กรับ)
ให้เมล็ดพันธ์ค่อยๆพองตัวเจริญเติบโต ขึ้นทีละนิด ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นอกจากจะเกิดความสนุกสนานแล้วยังได้เรียนรู้จังหวะไปด้วยอย่างแยบยล
ตามด้วยร้องเพลงประกอบจังหวะพร้อมท่าประกอบ
ช่วงบ่าย Body
Scan แบบนั่ง-นอน เตรียมความพร้อมสู่การเรียนรู้ในภาคบ่าย ขั้นปลุกปลุกด้วย
การปรบมือ ครูครูชี้ไปที่ใครให้คนนั้นปรบมือ จากนั้นร่วมกันหาข้อสรุปมติของห้อง เกี่ยวกับชื่อหน่วยบูรณาการ
ใช้คำถามกระตุ้นคิด “ทำไมถึงใช้ชื่อนี้” “มีใครอยากเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมบ้าง” “ถ้าไม่ใช้ชื่อนี้จะเป็นอะไรได้บ้าง”
สิ่งที่ได้เรียนรู้
การจัดกิจกรรม
ครูต้องวางแผนออกแบบกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเกิดความสุขในการเรียน
กิจกรรมที่สนุกสนานๆ ให้เค้ามีความสุขในการเรียนในขณะเดียวกันก็เกิดการเรียนรู้ภายในตัวด้วย
แรงบันดาลใจ
เป็นครูต้องทำได้ทุกอย่าง
สรุป
การเรียนรู้ 5
วันที่ผ่านมา
ได้เรียนรู้อะไรเยอะมาก ตั้งแต่วิถีปฏิบัติของที่นี่ ของนักเรียน ของครู
หน้าที่ของครูว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เป็นการเปิดโลกทัศน์ที่กว้างขึ้นจากเมื่อก่อน จากตอนที่มาสังเกตครั้งแรกได้แต่เพียงเห็นเพียงรับรู้
แต่ไม่ลึกซึ้ง ยังไม่เข้าใจว่าทำสิ่งนี้ สิ่งนี้ เพื่ออะไร รู้เพียงว่าปฏิบัติตามวิถี แต่ยังไม่เข้าใจว่า คำว่า วิถี คืออะไร ก่อนเปิดเรียนได้ARกับครูพี่เลี้ยง
เกี่ยวกับหน้าที่ครูว่าจะต้องทำอะไรบ้างในแต่ละวัน ซึ่งก็ยังไม่เห็นภาพเท่าไหร่
เปิดเรียนวันแรกก็ยังไม่เข้าที่เข้าทางเท่าที่ควร จนวันที่ 2
3 ถึงเริ่มรู้ว่าจะต้องทำอะไร มีบริบทอย่างไร วิถีเป็นอย่างไร
สิ่งที่ต้องปฏิบัติ สิ่งที่ต้องคำนึง ซึ่งมีรายละเอียดเยอะมาก จากที่รู้แค่ว่าทำอะไร เริ่มเข้าใจว่าทำเพื่ออะไร อย่างเช่น การรับส่งสิ่งที่ต้องไหว้อย่างนอบน้อม
การเรียกสิ่งต่างๆว่าพี่ พี่ดินสอ พี่เก้าอี้ ฯลฯ ก็เพราะให้เด็กได้เห็นคุณค่าของทุกสรรพสิ่ง
การสอนให้รู้จักเวลา
ทุกครั้งที่ให้งานจะต้องมีการกำหนดเวลาทุกครั้ง ครูให้เวลาพี่เข็มยาวชี้ที่เลข...
และเมื่อใกล้จะหมดเวลาก็มีการเตือน เตือนนี้พี่เข็มยาวชี้ที่เลข...
เหลืออีก.....นาที การจัดการชั้นเรียน การใช้คำพูดเชิงบวก การชื่นชม ขอบคุณ การปฏิสัมพันธ์แนวราบ
ซึ่งเป็นเพียงสัปดาห์แรกเริ่มเข้าใจทีละนิด
เรียนการกระบวนการสอนภาษาไทย
ในสัปดาห์แรก จะเริ่มจากให้คาดเดาเรื่อง ครูเล่านิทานให้ฟัง ตามด้วยคำถาม เรื่องนี้สอนอะไรบ้าง
คาดเดาเรื่องจากหน้าปกหนังสือ ให้นักเรียนได้แต่งเรื่องเอง “ตัวละครมีใคร”
“เหตุการณ์เป็นอย่างไร”
“เรื่องนี้ให้ข้อคิดอะไรบ้าง”
“พี่ๆอยากจะเรียนรู้แบบไหน”
ซึ่งสัปดาห์แรกจะเหมือนเป็นการเตรียมความพร้อม
การทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนก่อน
เรียนรู้เรื่องการถ่ายภาพ
ต้องถ่ายมุมไหน อะไร อย่างไรบ้าง เห็นภาพรวม เห็นสีหน้า การครุ่นคิด
การถ่ายทอดเป็นเรื่องราว ซึ่งส่วนตรงนี้ก็ต้องฝึกฝนต่อไป
นอกจากนี้มีในเรื่องของการดูแล ช่วยพัฒนาเด็กที่ยังมีปัญหาการการอ่าน การเขียน
อีกด้วย
มีหน้าที่ในการช่วยดูแลชั้นเรียนป.2
ยืนเวรรับผิดชอบ
การถ่ายภาพ บรรณาลักษณ์ห้องสมุด
สิ่งที่ประทับใจอย่างมากคือ
การร่วมมือกันของทุกฝ่าย ทั้งครูทั้งผู้ปกครอง
รู้สึกได้ว่านี่คือการพัฒนาคนอย่างแท้จริง ทุกฝ่ายมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน
เพื่อนักเรียน ทั้งกระบวนการสอน วิถีปฏิบัติ การ PLC การประชุม
เป็นการทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง
ประทับใจกิจกรรม
ได้เห็นกิจกรรมที่หลากหลายและมีความหมาย การตั้งคำถาม จะมีคำถามเยอะแยะมากมาย
ฝึกการคิดอยู่ตลอดเวลา คำถามส่วนใหญ่เป็นการใคร่ครวญในตัวเอง บางคำถามที่เราไม่เคยได้ตั้งคำถามกับตัวเอง
เป็นการย้อนมามองตัวเอง ความรู้สึกของตัวเอง ได้กลับมาใคร่ครวญตัวเอง หลักๆคือได้เรียนรู้อะไร
ที่นี่จะไม่มีชี้ว่าผิด-ถูก แต่ให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยของเค้าเค้าเอง
จะให้เห็นว่านักเรียนจะกล้าคิด กล้าตอบ กล้าแสดงออก
จากหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา
ได้เห็นตัวเอง รู้หน้าที่ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง แนวปฏิบัติ วิถีเป็นอย่างไร
เห็นจุดที่ตัวเองต้องเรียนรู้ พัฒนา ที่นอกจากเรื่องเรียนรู้กระบวนการเรียนการสอน
การจัดการชั้นเรียนแล้ว ยังต้องพัฒนาในเรื่องปฏิสัมพันธ์ทั้งกับนักเรียน คุณครู
ผู้ปกครอง การทำงาน ซึ่งอยู่ในช่วงการปรับตัวและจะพัฒนาตัวเองต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น